จดหมายข่าวฉบับที่ 5 เดือนกุมภาพันธ์ 2024 - เมษายน 2024
|
|
|
|
|
For the English newsletter please click here
or scroll down to the end and click at
'view the entire message'
|
|
|
สารจากกรรมการ
สวัสดีสมาชิกและผู้รับจดหมายข่าวทุกท่าน จดหมายข่าวฉบับนี้ถือเป็นฉบับแรกของปี 2567 จึงขอใช้โอกาสนี้สวัสดีปีใหม่ทุกท่าน และขอบคุณทุกท่านที่ได้เข้าร่วมการสัมมนาแบบพบตัวกันที่ชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ ของเราได้จัดขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ก.ท.ม. ในหัวข้อสัมมนาที่ชื่อว่า “การสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก: จากโครงการที่มีชุมชนเป็นฐานไปสู่นโยบายระดับชาติ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนในการจัดงานจาก LEGO Foundation และ World Childhood Foundation โดยในวันนั้นมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 133 คน ที่มาจากกระทรวงต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล โรงเรียน พรรคการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) นักวิชาการ นักวิจัย และ บุคคลทั่วไปที่สนใจ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจากงานสัมมนาครั้งนั้นจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนทั้งในระดับชุมชนไปจนถึงผู้มีอำนาจหน้าที่ในระดับประเทศเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกโดยใช้แนวทางและหลักสูตรที่มีงานวิจัยรองรับหรือมีการพิสูจน์แล้วว่าเกิดผลในทางที่ดีขึ้นต่อคุณภาพชีวิตของเด็กเยาวชนและผู้ปกครองจริง เพื่อการคุ้มครองเด็ก และลดปัญหาสังคมอันเกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน และครอบครัวต่อไป
ในปีนี้ชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ ยังคงมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมมือกันในการขยายงานการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกเพื่อให้เกิดการคุ้มครองเด็ก ความอยู่ดีมีสุข และพัฒนาการที่ดีของเด็กในประเทศไทย
กิจกรรมในปี 2567 นี้จะยังคงมุ่งเน้นที่การจัดสัมมนาออนไลน์ (webinar) ทุก ๆ 2 เดือน การออกจดหมายข่าวราย 3 เดือน และ การอัพโหลดแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ลงใน website เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมกับเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการวิจัย ข้อมูลของหลักสูตรการอบรม กลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์และบทเรียนที่ได้รับทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานของตน ตลอดจนเป็นกระบอกเสียงร่วมกันในการส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก
โปรดมีส่วนร่วมกับชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ ของเราต่อไปและให้มากขึ้นด้วยการสมัครเป็นสมาชิกที่ www.thaipositiveparentingcommunity.org และติดต่อผู้ประสานงานของชุมชนฯ เพื่อแนะนำหรือส่งข้อมูลของท่าน เช่น หลักสูตร คู่มือ งานวิจัย บทความ ด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก ด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก เพื่อให้ผู้ประสานงานนำลงเผยแพร่ใน website และในจดหมายข่าว หรือ หากท่านมีงานกิจกรรมที่อยากจะให้ผู้ประสานงานได้ช่วยประชาสัมพันธ์ก็สามารถส่งมาให้ได้ นอกจากนี้ หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใด ที่จะช่วยให้ชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ สามารถทำงานในลักษณะเครือข่ายพันธมิตรและมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสมาชิกและสาธารณะให้มากขึ้น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย เราก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับข้อเสนอแนะเหล่านั้นไว้พิจารณา โปรดส่งข้อเสนอแนะของท่านมายังผู้ประสานงานเพื่อนำเข้าสู่คณะกรรมการบริหารชุมชนฯ พิจารณา
สุดท้ายนี้ขออวยพรให้ตลอดปี 2567 นี้ของทุกท่าน เป็นปีแห่งความชื่นบาน และความก้าวหน้าสำเร็จในด้านต่าง ๆ ที่ทุกท่านได้เริ่มต้นไว้ และขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและสุขภาพจิตใจ เพื่อดำเนินชีวิตเชิงบวกได้ในทุก ๆ วัน
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา
ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
ดร.แอมมาลี แม็คคอย
|
|
|
เพื่อให้สมาชิกได้รู้จักพันธกิจของกันและกัน และมีช่องทางในการติดต่อประสานงานในอนาคต ดังนั้นในฉบับนี้เราจึงขอแนะนำ
1. กรมกิจการเด็กและเยาวชน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
วิสัยทัศน์ คือ เป็นองค์กรหลักในการกำหนดนโยบาย สร้างเด็ก และเยาวชนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเติบโตอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
1) พัฒนานโยบายและมาตรการด้านเด็กและเยาวชนในเชิงรุก
2) ส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาเด็ก และเยาวชนให้มีทักษะชีวิตที่จำเป็นในการดำรงชีวิตตามช่วงวัย
3) พัฒนาและเชื่อมโยงระบบคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
4) พัฒนาระบบสวัสดิการเด็กและเยาวชนที่เหมาสมกับบริบทของประเทศไทย
5) บูรณาการภาคีเครือข่ายเพื่อแก้ปัญหาเชิงประเด็น
6) พัฒนาบุคลากร และระบบบริหารองค์กรให้มีสมรรถนะสูง
7) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศรองรับการคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความทันสมัย
ที่ผ่านมากรมกิจการเด็กและเยาวชนมีการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนใน 3 ด้าน อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่
ด้านส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน อาทิ การสนับสนุนการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ การสนับสนุนสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย/สนับสนุนสถานพัฒนาเด็กเอกชน การส่งเสริมทักษะทางดิจิทัลให้กับเด็กและเยาวชน ทักษะด้านคุณธรรม และ EQ จัดการศึกษาให้กับเด็ก พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ (RF 21) ทักษะด้านกีฬา และศิลปะให้กับเด็กในสถานรองรับ การพัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชนทั้งในและต่างประเทศสู่การเป็นแกนนำในศตวรรษที่ 21 รวมทั้ง การช่วยเหลือด้านอาชีพ เช่น การส่งเสริมทักษะอาชีพเยาวชน ฝึกอาชีพแม่วัยรุ่น (ระยะยาว) การให้เงินสงเคราะห์ (ระยะสั้น)
ด้านคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน อาทิ การจัดบริการสถานรองรับเด็กในสถานรองรับ 33 แห่งทั่วประเทศ และบ้านพักเด็กและครอบครัว 77 แห่ง มีเด็กได้รับการช่วยเหลือ 34,273 คน การจัดตั้งศูนย์ชุมชนคุ้มครองเด็กระดับตำบล 5,013 แห่ง เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงานในพื้นที่ดำเนินการปกป้องคุ้มครองและเยียวยาในมิติต่างๆ ซึ่งปี 2566 มีเด็กได้รับการช่วยเหลือผ่านกลไกศูนย์ชุมชนคุ้มครองเด็ก 15,812 คน และดำเนินโครงการ ซ่อม เสริม สร้าง บ้านที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก 136 หลัง ครอบคลุม 77 จังหวัด โดยปรับปรุงและซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของเด็กให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยผ่านการทำ CSR ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
ด้านส่งเสริมสวัสดิการเด็กเยาวชนและครอบครัว อาทิ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด มีเงินจากกองทุนคุ้มครองเด็ก ที่สนับสนุนให้กับเด็กและหน่วยงานที่ดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ การส่งเสริมให้เด็กเติบโตในสภาพแวดล้อมแบบครอบครัว โดยการจัดหาครอบครัวทดแทน ทั้งแบบชั่วคราว และถาวร งานบุตรบุญธรรม ในและต่างประเทศ การสนับสนุนปัจจัย 4 ให้กับเด็กในสถานรองรับ ตามช่วงวัย การให้เงินอุดหนุนกับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวอุปถัมภ์
ที่ตั้ง: 1034 ถ. กรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
โทรศัพท์: 02 2555850
Website: https://www.dcy.go.th/
2. ศูนย์พัฒนาศักยภาพด้านการเลี้ยงดูเด็ก
(Positive Parenting Promotion Center)
จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดตั้งการจัดตั้งศูนย์ให้เป็นศูนย์ ความรู้ วิจัยและฝึกอบรมด้านจิตวิทยาการเลี้ยงดู
2. เพื่อรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเลี้ยงดูเด็กและผลกระทบจากการเลี้ยงดูต่อ พัฒนาการและสุขภาพจิตเด็ก ความจำเป็นและความต้องการในการพัฒนาเด็กของพ่อแม่ผู้ปกครองในบริบททางสังคมและประชากรที่แตกต่างหลากหลาย
3. เพื่อกลั่นกรองและขยายผลโปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์รองรับด้วยวิทยาศาสตร์ของการขยายผล
4. เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลวิทยากรและบริการด้านการฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทยให้แม่นตรง เป็นปัจจุบัน พร้อมต่อการนำไปใช้สนับสนุนการขยายผลการฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็ก
5 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการและบุคลากรกับหน่วยงานหรือองค์กรที่พัฒนางานด้านการฝึกทักษะ การเลี้ยงดูเด็กทั้งในและต่างประเทศ
สถานที่ดำเนินการ: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ 196 หมู่ 10 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180.
โทรศัพท์: 053-908-300
Email: positiveparentingricd@gmail.com
3. สมาคมส่งเสริมศักยภาพบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้
แห่งประเทศไทย
สมาคมฯ เป็นองค์กรที่เติบโตมาจากคำแนะนำจากคนพิการผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านให้รวมกลุ่มผู้ดูแลบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งผลพวงจากการรวมกลุ่มทำให้ผู้เยาว์ที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ได้สานสัมพันธ์กัน เกิดการแชร์ประสบการณ์ระหว่างครอบครัวร่วมกัน รวมทั้งได้รับการส่งเสริมทางวิชาการเพื่อความเข้มแข็งในการใช้ชีวิตและการศึกษาเรียนรู้เพื่อการประกอบอาชีพและงาน
ในปี 2551 การรวมกลุ่มประสบผลสำเร็จเพราะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองกองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ จากนั้น ปี 2554 องค์กรได้เปลี่ยนโครงสร้างเป็นนิติบุคคลในรูปสมาคมฯ และได้ดำเนินกิจกรรมกับองค์กรเครือข่ายทั่วประเทศ ตามแผนงานและยุทธศาสตร์คนพิการแห่งชาติ รวมถึงต่อมาได้ขอแจ้งชื่อเป็นองค์การคนพิการประเภทการเรียนรู้ต่อนายทะเบียนองค์กรคนพิการ คือกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อีกทั้งได้จดแจ้งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยแสดงความจำนง ต่อกรมสรรพากรในการรับบริจาคเงินเพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ผ่านระบบอิเลคทรอนิคส์ ทั้งนี้เพื่อประกอบกิจกรรมส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพและฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเรียนรู้
สมาคมฯ มีโปรแกรมการให้บริการคนพิการทางการเรียนรู้ร่วมกับเครือข่ายหลายแห่งที่จะฟื้นฟูสภาวะสูญเสียการอ่าน และการมีปัญหากับสิ่งพิมพ์เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ รวมถึงการฟื้นฟูภาวะสูญเสียความสามารถในการคำนวณและการประเมินสถานการณ์รอบตัว กับความสามารถในการเขียนเพื่อสื่อสารกับสังคมซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของผู้มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ในเรื่องการมองเห็นและการได้ยิน อันจะส่งผลให้เกิดปัญหาทางจิตเวชตามมาในภายหลังได้
กว่า 15 ปีที่ดำเนินกิจการมา สมาคมฯ ได้ให้บริการครอบครัวคนพิการทางการเรียนรู้ไปไม่น้อยกว่า 3,000 คน ขยายผลในสถานศึกษาได้หลักแสนคน และขยายผลในสังคมได้จำนวนหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างทำการสำรวจและวิจัย จัดกิจกรรมให้บริการวิชาการและความสัมพันธ์ที่ดีหลายด้านไม่น้อยกว่า 100 ครั้ง ด้วยความเชื่อมั่นว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะมีคนพิการทางการเรียนรู้เพิ่มปริมาณขึ้นพร้อมทั้งเข้าถึงสวัสดิการตามกฎหมาย ในขณะเดียวกันจะมีคนพิการทางการเรียนรู้จำนวนหนึ่งสามารถเลิกใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรพิการเนื่องจากสามารถใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงคนปกติ ตามปณิธานของสมาคมฯ คือ
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังและไม่มีเรื่องของเราที่ปราศจากเราเข้าไปเกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน คนพิการทางการเรียนรู้ สตรีพิการทางการเรียนรู้ที่เป็นต้นแบบหลายคนได้ก้าวนำความพิการไปสู่ความสำเร็จในชีวิตและได้ย้อนกลับมารวมตัวเพื่อสร้างความเข้าใจและช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาคล้ายกันต่อไป ให้สามารถก้าวข้ามอุปสรรคไปได้ในที่สุด
สมาคมฯ ยินดีเป็นสื่อกลางทางวิชาการและสื่อสัมพันธ์อันดีของชุมชน LD ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติภาษาและทุกทัศนคติ ขอเรียนเชิญแชร์ประสบการณ์ของท่านและมาใช้บริการของพวกเรา เพื่อการพัฒนาชีวิตของบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
ติดต่อเราได้ที่: สมาคมส่งเสริมศักยภาพบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้แห่งประเทศไทย 77/184 ม.3 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
โทรศัพท์: 086 914 2299 คุณสุมามาลย์ / 061 547 8746 คุณศิริไชย / 081 537 9906 คุณจิราพัชร / 081 530 1024
คุณนิธิวดี / 086 325 1357 คุณบุญฤทธิ์
IG ,line official , YouTube, Facebook: ค้นคำว่า Thaidyslexia
Facebook กลุ่มของสมาคม ฯ: (สำหรับส่งแนบไฟล์งานเพื่อส่งเอกสารให้กับสมาชิก) ชื่อกลุ่ม”ชมรมส่งเสริมศักยภาพบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้จังหวัดชลบุรี”
line openchat: ค้นคำว่า “ชุมชนแอลดีไทย “
|
|
|
|
|
|
|
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มูลนิธิศานติวัฒนธรรม และ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะองค์กรร่วมบริหารงานชุมชนผู้ปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย (Thai Positive Parenting Community of Practice ชื่อย่อ TPP CoP) ได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ "การสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งเพื่อการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก: จากโครงการที่มีชุมชนเป็นฐานไปสู่นโยบายระดับชาติ" โดยมี ผศ.ดร. สมบัติ ตาปัญญา เป็นผู้แทนของกรรมการร่วมบริหารกล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการร่วมก่อตั้ง TPP CoP ขึ้นมา นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก คุณ Paula Guillet de Monthoux, Secretary General, World Childhood Foundation และคุณ Aaron Lee Morris, Partnerships Specialist, The LEGO Foundation ในฐานะองค์กรผู้สนับสนุนทุนในการจัดงานสัมมนาครั้งนี้มาร่วมกล่าวเปิดงานและแสดงความยินดีกับการสัมมนาแบบพบตัวกันครั้งแรกของ ชุมชนผู้ปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย (TPP CoP)
ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 133 คนจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานของ UN ภาคประชาสังคม (NGOs) โรงเรียน มหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักวิจัย พรรคการเมือง และ บุคคลทั่วไปที่สนใจ
|
|
|
ในงานยังได้มีพิธีลงนามความเข้าใจ (MOU) ระหว่างมูลนิธิศานติวัฒนธรรม และ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมกันบริหารงาน TPP CoP |
|
|
|
กิจกรรมภายในงาน ช่วงเช้าเป็นเวทีสวนาโดยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐเรื่องการผลักดันนโยบายด้านการเลี้ยงดูเด็ก และ การนำเสนอเรื่อง การส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกด้วยโปรแกรมที่มีงานวิจัยรองรับ ในช่วงบ่ายมีการแบ่งห้องสัมมนาย่อยออกเป็น 4 ห้องให้ผู้เข้าร่วมได้เลือกเข้า โดยมีหัวข้อดังนี้
• การสนับสนุนผู้ปกครองด้านการเลี้ยงดูเด็กด้วยโปรแกรมดิจิตัล
• การติดตามและประเมินการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผลกระทบ
• การผลักดันโปรแกรมการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกไปสู่ระดับนโยบาย
• วิธีการทำงานกับผู้ปกครองในลักษณะของการร่วมมือกัน |
|
|
ภายนอกห้องสัมมนายังมีการจัดบูธของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกของ TPP CoP อีก 6 บูธ ได้แก่ 1. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ เชียงใหม่ 2. โครงการการเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้มีสุขภาพดีตลอดชีวิต สำหรับเด็กเล็ก (PLH-YC)
3. มูลนิธิดรุณาทร (Compassion Thailand)
4. โครงการ HIPPPY
5. หลักสูตรเน็ตป๊าม๊า (Net PAMA) และ
6. บอร์ดเกมส์จากบริษัท คลับ ครีเอทีฟ จำกัด |
|
|
|
|
กิจกรรม “วิ่งกับลูก ครั้งที่ 1 Positive Parenting Fun Run”
|
|
|
สสส.-กรมสุขภาพจิต จัดกิจกรรม “วิ่งกับลูก ครั้งที่ 1 Positive Parenting Fun Run” แนะหลักการ “กอด ชม พูดคุย รับฟัง” สอดรับ "เลี้ยงดูเชิงบวก" สร้างสุขภาวะกาย ใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา และความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว หวังสร้างวัคซีนใจ ป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็ก-เยาวชน
เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2567 ที่กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายพ่อแม่เลี้ยงบวก จัดกิจกรรม “วิ่งกับลูก ครั้งที่ 1 Positive Parenting Fun Run” ส่งเสริมการเลี้ยงดูเชิงบวกกับพ่อแม่เด็กปฐมวัย วัยเรียน วัยรุ่น ผ่านกิจกรรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเชิงบวก 5 ฐาน ตลอดระยะทางเดิน/วิ่ง 3.5 กิโลเมตร มีพ่อแม่ผู้ปกครองพร้อมบุตรหลานเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 ครอบครัว รวมกว่า 700 คน
พญ.ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต และ ผู้จัดการแผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพจิต กล่าวว่า “ในปี 2565 กรมสุขภาพจิตได้ศึกษาปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และสังคม ที่นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในระยะยาวในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี พบว่า ประมาณ 1 ใน 7 คน และเด็ก อายุ 5-9 ปี ประมาณ 1 ใน 14 คน มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ และวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี ร้อยละ 17.6 มีความคิดทำร้ายตนเองและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของวัยรุ่นอีกด้วย การแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ซึ่งเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมการเลี้ยงดูเชิงบวก ซึ่งครอบคลุมทั้งการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว การทำกิจกรรมและใช้เวลาร่วมกัน รวมถึงการสร้างเครือข่ายที่ช่วยสนับสนุนพ่อแม่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูเด็ก หากทุกครอบครัวตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กผ่านการเลี้ยงดูเชิงบวก จะทำให้เกิดชุมชนเลี้ยงบวก ร่วมกันสร้างเด็กไทยคุณภาพให้ประเทศไทย ลดปัญหาสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นลงได้ในที่สุด”
พญ.หทัยชนนี บุญเจริญ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ กล่าวว่า “การจัดกิจกรรม
“วิ่งกับลูก ครั้งที่ 1 Positive Parenting Fun Run” ได้นำหลักการสำคัญของการเลี้ยงดูเชิงบวกเข้ามาสอดแทรกในกิจกรรมและส่งเสริมการใช้เวลาร่วมกัน แนะแนวทางให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง “กอดส่งรัก ชมจากใจ พูดคุยให้รู้ใจ และรับฟังด้วยหัวใจ” ภายในงานยังมีบูธกิจกรรมให้ความรู้ และมีเด็กและผู้ปกครองร่วมกว่า 700 คน
หากสนใจข้อมูลความรู้ทักษะการเลี้ยงลูกเชิงบวก
สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก: วิ่งกับลูก Positive Parenting Fun Run #1” |
|
|
กรมกิจการเด็กและเยาวชนจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2567
|
|
|
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น. นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน มอบหมายให้ นายอุเทน ชนะกุล รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนงาน ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เรื่องกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรในการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชน ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน วิทยากร ผู้สังเกตการณ์ และเจ้าหน้าที่ กรมกิจการเด็กและเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น 36 คน ณ ห้องประชุมรวงข้าว นวคุณ ชั้น 11 โซน A และผ่านระบบประชุมออนไลน์ (Zoom Cloud Meeting) |
|
|
งานประชุมวิชาการเน็ตป๊าม้า (NetPAMA) ครั้งที่ 1 |
|
|
งานประชุมวิชาการเน็ตป๊าม้า ครั้งที่ 1 เรื่อง “ปัจจัยความสำเร็จในการจัดตั้งห้องเรียนเน็ตป๊าม้า” เพื่อนำเสนอผลการดำเนินการขยายผลและจัดตั้งห้องเรียนเน็ตป๊าม้า รวมถึงจัดกิจกรรม workshop เพื่อเพิ่มทักษะและศักยภาพให้แก่กระบวนกรในการทำกระบวนการกลุ่มกับผู้ปกครองในอนาคต
จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2567 เวลา 8.30 - 16.00 น. ณ ห้องพระเอราวัณ 1-2 ชั้น 2 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ เพื่อร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดตั้งห้องเรียนเน็ตป๊าม้าในพื้นที่ พร้อมทั้งแบ่งปันเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัวในประเทศไทย
|
|
|
6 กุมภาพันธ์ 2567 วันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ
|
|
|
สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 อนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กในประเทศไทย และกำหนดให้วันอังคาร สัปดาห์ที่ 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายเสริมสร้างอินเทอร์เน็ตปลอดภัยประเทศไทย (Thailand Safe Internet Coalition) ซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมสำคัญซึ่งเป็นจุดริเริ่มของการส่งเสริมความตระหนักเรื่องการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยสร้างสรรค์กับประชาชน เด็ก เยาวชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กในประเทศไทย เพื่อให้การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้านอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กและเยาวชนไทยได้รับการพิจารณาอย่างรอบด้าน และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมและให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และภาคประชาสังคม ได้มีส่วนร่วมรับรู้ถึงภัยออนไลน์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันมิให้เด็กและเยาวชนไทยได้รับผลกระทบจากการใช้อินเทอร์เน็ตไม่เหมาะสม
“วันอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ” จะเป็นหมุดหมายสำคัญ ที่ให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมทบทวนการทำงาน สร้างความตระหนักเรื่องการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยสร้างสรรค์ และยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยออนไลน์ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จัดระบบคุ้มครองช่วยเหลือและสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกคนในสังคมรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เพื่อให้อินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยในการใช้งานสำหรับทุกคน |
|
|
งานแถลงข่าวประเด็น “เด็ก 4 ขวบตกตึก” |
|
|
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดงานแถลงข่าวในประเด็น “เด็ก 4 ขวบตกตึก” โดยมี รองศาสตราจารย์
นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย นายประจวบ ผลิตผลการพิมพ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานสื่อสาธารณะ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี แถลงข่าว เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยที่สามารถป้องกันได้ ให้แก่
ผู้ปกครอง ผู้ออกแบบ และเจ้าของอาคาร ในการป้องกันอุบัติเหตุจากการพลัดตกจากอาคารหรือที่สูงซึ่งอาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ |
|
|
|
|
งานประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 2/2567
หัวข้อ "ดูแลพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เติบโตอย่างมีศักยภาพด้วยกรอบแนวคิด Nurturing Care Framework (NCF) การดูแลอย่างเอาใจใส่" |
|
|
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดการประชุมวิชาการขึ้นโดยได้เชิญ ครูปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจทั่วไปเข้าร่วมประชุม โดยในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานจำนวน.มากกว่า 3,300 คน |
|
|
เปิดตัวครั้งแรก ชุมชนผู้ทำพันธกิจครอบครัว
|
|
|
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567 มูลนิธิดรุณาทร (Compassion Thailand) ได้จัดการสัมมนาออนไลน์เพื่อเปิดตัว 'ชุมชนผู้ทำพันธกิจครอบครัว' ขึ้น
โดยชุมชนฯ นี้จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์คือ
1. เสริมสร้าง หนุนใจ ในการทำพันธกิจ
2. เพิ่มเครือข่ายที่ทำงานด้านครอบครัว
3. แบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ในบริบทของสมาชิกแต่ละท่าน/ องค์กรในการทำพันธกิจครอบครัว
ในครั้งนี้มูลนิธิฯ ได้เชิญวิทยากรซึ่งเป็นผู้แทนจากคริสตจักรสัมพันธ์บ้านละอุบ คริสตจักรบ้านแม่เหาะ มูลนิธิก้าวหน้าพัฒนา (Step Ahead Foundation) และ ชุมชนผู้ปฏิบัติงานด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย (Thai Positive Parenting Community of Practice) มาร่วมแบ่งปันพันธกิจด้านเด็กและครอบครัวของพวกเขาด้วย |
|
|
|
|
กิจกรรม & งานที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ |
|
1. เชิญร่วมสัมมนาออนไลน์: "เลี้ยงลูกอย่างไรโตไป ไม่โกง"
ขอเชิญครู-อาจารย์ ผู้ดูแลเด็ก ผู้ทำงานด้านพัฒนาการมนุษย์ และศิษย์เก่าหนักสูตรพัฒนาการมนุษย์ร่วมสัมมนาออนไลน์
วันที่ 2 มีนาคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น.
การเรียนรู้: ผ่าน Zoom และ Facebook Live
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: โทร 092-4145296
สมัครได้ที่: https://nicfd-member.mahidol.ac.th/member/login..
|
|
|
|
|
2. เชื่อมโยงใจเรา เข้าใจลูก Happy parents, Happy kids |
|
|
|
เชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง มาเรียนรู้โลกภายในของตัวเองด้วย Satir Model กลับมาใจดีกับตัวเอง เป็นพ่อแม่ธรรมดาๆ ที่มีความสุข เพื่อส่งมอบความสุขนี้เป็นของขวัญให้กับลูกๆ
เชื่อมโยงใจเรา เข้าใจลูก ผ่าน Satir Model" Happy Parents, Happy Kids : Using Satir Model
สถานที่: Tree Scape Retreat Resort Chiang Mai อ.หางดง จ.เชียงใหม่ วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม 2567
เวลา: 9.00 -16.00 น.
ค่าลงทะเบียน 3000 บาท
รับจำนวนจำกัด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่: คุณมาลี
โทร. 082-022-2477 Email: maleelert@gmail.com
Satir model ชวนคุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในโลกภายในของเราบ้าง เวลาที่อยู่กับลูกๆ
- ภายใต้ทุกพฤติกรรม มีเรื่องราวดีๆ ซ่อนอยู่เสมอ หากเราได้รับรู้และเข้าใจ จะช่วยให้เราได้เชื่อมโยง ถึงสิ่งดีงามภายในใจของกันและกัน ภายใต้ความโกรธและโมโห มีความปรารถนาดีที่อยากให้ลูกได้ดีซ่อนอยู่ ลูกๆ ที่ร้องไห้เสียใจ อาจจะอยากได้รับความไว้วางใจ และผิดหวังในตัวเองก็เป็นได้
- ทุกๆ อารมณ์ความรู้สึก ล้วนมีอะไรดีๆ ซ่อนอยู่เสมอ ความโกรธอาจจะกำลังบอกให้เรารู้ว่าเราคู่ควรกับสิ่งที่ดีกว่า หรือคอยผลักดันให้เราปกป้องลูกน้อยจากภยันตราย ความอิจฉา อาจจะกำลังช่วยให้พ่อแม่ขวนขวายหาสิ่งที่ดีเพื่อลูกๆ ของตัวเอง
- จะเป็นอย่างไร? หากเรายอมรับความรู้สึกเหล่านี้ และมองเห็นถึงเจตนาที่แท้จริงของทุกๆ อารมณ์และความรู้สึก
- พ่อแม่ทุกคนทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เสมอ
- ลูกๆ ไม่ได้ต้องการพ่อแม่ที่ "เก่งที่สุด" แต่ต้องการพ่อแม่ที่เป็นมนุษย์ธรรมดา ที่ยอมรับ ให้ความรัก และความไว้วางใจแก่ลูกน้อย
- มนุษย์มีความรู้สึกต่างๆ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เหนื่อยได้เป็นธรรมดา และสามารถรับผิดชอบกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ และแน่นอนว่าสามารถเลือกที่จะดูแลความรู้สึกเหล่านั้น และมีความสุขได้เช่นกัน
- พ่อแม่ที่มีความสุข สามารถส่งความสุขให้ลูกได้
นี่คือบางส่วนจาก Live "เชื่อมโยงใจเรา เข้าใจลูก" เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567
|
|
|
|
|
3. "เล่นเรียนรู้ เคียงคู่ธรรมชาติ" ครั้งที่ 8 |
|
|
ขอเชิญพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ส่งบุตรหลานอายุ 7-9 ปี มาร่วม "เล่นเรียนรู้ เคียงคู่ธรรมชาติ" ครั้งที่ 8 ในวันที่ 26-29 มีนาคม 2567
ค่ายเล่นรอบเมืองสร้างพลังการเรียนรู้ครั้งนี้ จัดเต็มกับ "เล่นเรียนรู้ เคียงคู่ธรรมชาติ" ที่จะทำให้บุตรหลานได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและสัมผัสทางธรรมชาติอย่างแท้จริง
- Natural Sensory Activates: รู้จักสัมผัสแห่งธรรมชาติผ่านกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ที่จดจำไปนาน!
- Scavenger Hunt ตามล่าหาธรรมชาติ: ท้าทายทักษะและความคิดสร้างสรรค์ในการค้นหาความงดงามของธรรมชาติ!
- ทักษะความปลอดภัย: เรียนรู้วิธีที่จะเล่นและสนุกอย่างปลอดภัยในธรรมชาติ!
สมัครได้ที่: https://forms.gle/bpkarfc6ctLJX2xz7
สอบถามเพิ่มเติม: ติดต่อ 092-4145296 (ในวันและเวลาราชการ) หรือ
082-3217721 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
หรือทาง Line: https://line.me/ti/g/VwAo5w16mh
|
|
|
4. สุดยอดปู่ย่าตายาย: ดนตรีเพื่อพัฒนาเด็กและผู้สูงวัย
ขอเชิญพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ และผู้สนใจเข้าอบรมออนไลน์:
“สุดยอดปู่ย่าตายาย: ดนตรีเพื่อพัฒนาเด็กและผู้สูงวัย”
วันอังคารที่ 5 มีนาคม 2567
สนใจลงทะเบียนผ่าน Link: https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/214
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:โทร 092-4125296 (ในวันและเวลาราชการ)
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้เทคนิคในการใช้กิจกรรมด้านดนตรีเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ |
|
|
|
|
5. การประชุมนานาชาติเรื่องการทารุณกรรมทางวาจาในวัยเด็กครั้งที่ 1
การประชุมออนไลน์ เรื่องความสำคัญของการใช้คำพูด: ผลกระทบและการป้องกัน
การทารุณกรรมทางวาจาต่อเด็ก
|
|
|
11 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น.–17.00 น
รายการทั้งหมดจะเผยแพร่ออกอากาศทางออนไลน์ผ่านระบบ Zoom และจะใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น
ความนำ
การทารุณกรรมทางวาจาต่อเด็กอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ของเด็ก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาวไปตลอดชีวิต และถึงแม้ว่าในปัจจุบันการป้องกันการทารุณกรรมทางเพศและทางร่างกายต่อเด็กจะได้รับความสนใจและมีการทุ่มเททรัพยากรให้กับปัญหานี้มาก ส่งผลให้ความชุกของปัญหานี้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ปัญหาการทารุณกรรมทางวาจาต่อเด็ก ซึ่งยังเกิดขึ้นค่อนข้างมากกลับยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
งานสัมมนาหนึ่งวันนี้ จะจัดขึ้นโดยศูนย์ความร่วมมือด้านการป้องกันความรุนแรงและการลงทุนด้านสุขภาพและความอยู่ดีมีสุขในสหราชอาณาจักร (UK-based Collaborating Centres in Violence Prevention and Investment in Health and Wellbeing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับแผนกจิตวิทยาและภาษาศาตร์ของ University College London (UCL) โดยจะเป็นการนำเสนอผลการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกในด้านการศึกษาเรื่องประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก (ACEs หรือ adverse childhood experiences) ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ด้านจิตวิทยาพัฒนาการ และด้านการสาธารณสุข ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์และกระตุ้นการอภิปรายเกี่ยวกับการหาคำจำกัดความที่เห็นพ้องต้องกัน ผลกระทบ ภาระต้นทุนทางสังคม และการป้องกันปัญหาการทารุณกรรมทางวาจาต่อเด็ก
|
|
|
6. การอบรมส่งเสริมเด็กออทิสติกเด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม (Thai Model)
หลักสูตรพื้นฐาน
ขอเชิญผู้สนใจ แพทย์ นักวิชาชีพ เข้าร่วมอบรมในโครงการ “การอบรมส่งเสริมเด็กออทิสติกเด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม (Thai Model)
ในวันที่ 12-15 มีนาคม 2567
สมัครผ่าน QR-CODE
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: 0924145296
หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก: ที่นี่
|
|
|
|
|
7. การอบรมส่งเสริมเด็กออทิสติกเด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม (Thai Model)
หลักสูตรภาคปฏิบัติ
ขอเชิญผู้สนใจ แพทย์ นักวิชาชีพ เข้าร่วมอบรมในโครงการ “การอบรมส่งเสริมเด็กออทิสติกเด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม (Thai Model) (หลักสูตรภาคปฏิบัติ)
รุ่นที่ 1 วันที่ 13-17 พฤษภาคม 2567
รุ่นที่ 2 วันที่ 10-14 มิถุนายน 2567
สมัครผ่าน QR-CODE
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: 0924145296
หรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก: ที่นี่ |
|
|
|
|
8. การอบรมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนปลอดภัยครั้งที่ 31
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ (CSIP)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล จะจัด โครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและการรับรองโรงเรียนปลอดภัย ในนาม “MU Safe School” ขึ้น
เพื่อเป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมประสบการณ์ สุขภาวะความปลอดภัย แก่ครู
ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สนใจทั่วไปที่อาศัยใน
ชุมชนระแวกโรงเรียน รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการพัฒนาความปลอดภัยและยกระดับการรับรองโรงเรียนปลอดภัย ในนาม Mahidol University Safe School
โดยจะจัดเดือนละ 1 ครั้ง ตามโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ที่แนบมานี้ หากสนใจ สามารถสมัครเข้าร่วมอบรมได้ด้วยการสแกน QR code |
|
|
|
|
9. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ฝึกอบรมผู้ปกครอง (Parent Trainer Certification Program) หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น (1 ปี) |
|
|
หลักสูตรมุ่งเน้นเพิ่มพูนทักษะผู้เรียนให้เป็น
กระบวนกร (facilitators) หรือ Certified Parent Trainer (CPAT) สำหรับการทำกลุ่มผู้ปกครองที่ต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูกด้วยเทคนิคการเลี้ยงลูกเชิงบวก
หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบและสอนโดย ศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล พร้อมด้วยทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ที่เชี่ยวชาญในการทำกลุ่มผู้ปกครอง (Parent Management Training: PMT) และพัฒนาโปรแกรมเน็ตป๊าม้า (Net PAMA)
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
ผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัว (ทั้งภาครัฐและเอกชน) ได้แก่ กุมารแพทย์ จิตแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาลจิตเวช
นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสาธารณสุข นักพัฒนาสังคม ครู หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเด็กและครอบครัว
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ไม่จำกัดสาขา)
2. มีประสบการณ์การทำงานด้านพัฒนาเด็กและครอบครัวอย่างน้อย 3 ปี
3. หากมีประสบการณ์ในการเป็นกระบวนกร (facilitators) หรือการทำกลุ่มบำบัด (group therapy) มาก่อน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
สแกน QR code เพื่อสมัคร |
|
|
|
|
บทความ
"เด็กชายกับความรุนแรง"
โดย ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา
มูลนิธิศานติวัฒนธรรม
”
ในปีที่ผ่านมานี้ข่าวเรื่องเด็กชายกระทำความรุนแรงได้สร้างความวิตกกังวลให้กับพ่อแม่และผู้ดูแลเด็กเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะข่าวเด็กที่ยิงคนในห้างตายไปถึง 4 คนและกลุ่มวัยรุ่นที่ฆาตกรรมหญิงเร่ร่อนแล้วโยนศพทิ้งในสระน้ำ สัปดาห์นี้ที่สหรัฐอเมริกาก็มีคดีที่อัยการสั่งฟ้องพ่อแม่ของเด็กชายวัยรุ่นที่เอาปืนไปยิงเพื่อนในโรงเรียนตายถึง 4 คน ว่าควรถูกลงโทษในข้อหาฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาเพราะซื้อปืนให้ลูก พาลูกไปฝึกยิง แต่ไม่ควบคุมดูแลใกล้ชิดปล่อยให้ลูกพกปืนไปโรงเรียน
ในขณะที่บ้านเราก็มีการถกเถียงกันเรื่องนี้ว่าพ่อแม่ควรมีส่วนรับผิดชอบและถูกลงโทษหรือไม่ ถ้าลูกไปก่อคดีร้ายแรงเช่นนี้ เสียงวิจารณ์ที่มักได้ยินกันเสมอเมื่อเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ก็คือ
ขอให้เพิ่มโทษให้มากขึ้น ลดอายุเด็กที่จะถูกดำเนินคดีเหมือนผู้ใหญ่ หรือขอให้เพิ่มการควบคุมกวดขันเด็กให้มากยิ่งขึ้น
จากการศึกษาและรวบรวมสถิติทั้งในประเทศและต่างประเทศจะพบเสมอว่าปัญหาความรุนแรงระหว่างบุคคลส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเป็นอัตราส่วนที่ห่างกันมาก อัตราส่วนของเด็กชายในสถานพินิจก็สูงกว่าเด็กหญิงค่อนข้างมากอย่างเห็นได้ชัด
การเข้าใจพัฒนาการและวิธีคิดวิธีปรับตัวของเด็กผู้ชายจึงอาจช่วยให้เราป้องกันปัญหาได้
มีนักวิจัยที่ทำการศึกษาในประเด็นนี้ให้คำอธิบายว่าปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อสุขภาพจิตและพฤติกรรมของเด็กชายคือความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและการปฏิสัมพันธ์กันในชีวิตประจำวัน และเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมักมีลักษณะที่คล้ายกันบางอย่างเช่น สื่อสารความรู้สึกไม่ได้ นำไปสู่การเก็บกด เครียดและระเบิดออกมาเป็นพฤติกรรมรุนแรง หรือตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของค่านิยมของความเป็นชายที่เป็นอันตราย เช่นผู้ชายต้องไม่แสดงความอ่อนแอให้ใครเห็น ผู้ชายต้องเข้มแข็งตลอดเวลาหรือต้องก้าวร้าว แข่งขันเพื่อเอาชนะ เป็นผู้นำ และวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังแสวงหาอัตลักษณ์หรือความเป็นตัวเอง และต้องการการยอมรับจากกลุ่มมากเป็นพิเศษ บางครั้งถึงกับยอมเสี่ยงอันตรายยอมทำผิดกฎหมาย เพียงเพื่อให้ได้รับการชื่นชมจากเพื่อน
ผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัวเด็กผู้ชายจะช่วยให้เขาเติบโตไปเป็นผู้ชายที่มีสุขภาพจิตดีและมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นภัยต่อทั้งตัวเขาเองและคนอื่น ๆ ได้ สิ่งที่ควรทำคือควรพูดคุยกับเด็กเรื่องอารมณ์ความรู้สึกบ่อย ๆ โดยเน้นที่การรับฟังการให้ความเข้าใจ ซึ่งจะช่วยให้เขาสื่อสารหรือขอกำลังใจ ขอความช่วยเหลือหรืออย่างน้อยก็รู้จักวิธีระบายความอัดอั้นเวลาไม่สบายใจได้เด็กผู้ชายจะมีพลังมาก มักเคลื่อนไหวรวดเร็ว กระโดดโลดเต้นบางครั้งอาจรบกวนคนรอบข้าง ผู้ใหญ่จึงจะต้องอดทนและยอมรับธรรมชาติของเขาหาโอกาสให้เขาได้ใช้พลังแสดงออก ไม่พยายามบังคับให้เด็กอยู่นิ่ง ๆ ทำตัวให้เรียบร้อย หรือเงียบอยู่ตลอดเวลาควรพูดคุยกับเด็กผู้ชายด้วยภาษาที่เขาเข้าใจได้ง่าย ในลักษณะที่ยกย่องความภาคภูมิใจและความเป็นชายของเขา
เด็กผู้ชายมักป้องกันตัวเองด้วยการแสดงออกแบบก้าวร้าว ระแวง หรือเหยียดหยามคนอื่น ๆ ถ้าอยากให้เขาพูดเราจึงจะต้องอดทนที่บางครั้งเขาจะไม่สุภาพ ไม่พูดหรือพูดแค่ห้วนๆ กับเรา และสื่อสารกับเขาด้วยความเข้าใจว่าเขาต้องการปกป้องตัวเองต้องการแสดงออกว่าเขาเข้มแข็ง
เด็กผู้ชายมักถูกปลูกฝังหรือได้รับอิทธิพลจากสื่อที่นำเสนอภาพความกล้าหาญหรือความเข้มแข็งของผู้ชายด้วยการต่อสู้กับผู้ร้าย มนุษย์ต่างดาว หรือสัตว์ร้ายด้วยการใช้กำลังและความรุนแรงเพื่อเอาชนะ เราจึงควรสอนเด็กผู้ชายหรือแสดงตัวอย่างให้เขาดู ว่าความกล้าหาญมีหลายรูปแบบไม่ได้จำกัดอยู่แค่การใช้ความรุนแรงเพื่อเอาชนะเท่านั้นแต่อาจเป็นความพากเพียรที่จะเอาชนะอุปสรรคในชีวิต
ความกล้าที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ยอมทำสิ่งที่ผิดแม้ถูกกดดันจากเพื่อนหรือกล้าหาญที่จะปกป้องตนเองหรือคนที่อ่อนแอกว่าด้วยการใช้ความคิดที่ชาญฉลาดโดยไม่ต้องใช้กำลังก็ได้
จากการศึกษาประวัติเด็กที่ชอบรังแกเพื่อนหรือประวัติชีวิตของผู้ชายที่เป็นอาชญากรที่ก้าวร้าวรุนแรงหรือฆาตกรต่อเนื่องมักพบเสมอว่าเขาเติบโตมาจากการอบรมสั่งสอนด้วยความรุนแรงและในขณะเดียวกันก็ขาดการเอาใจใส่ ขาดความรักความอบอุ่น ส่งผลให้เขาไม่สามารถแสดงความอบอุ่นหรืออ่อนโยนกับคนรอบตัวได้ และเมื่อเครียดหรือขัดใจก็จะแสดงออกด้วยความรุนแรงเพราะเขาเห็นแบบอย่างจากผู้ใหญ่ที่ทำกับเขาตลอดมาตั้งแต่เด็ก
ผู้ปกครองเด็กผู้ชายจึงควรอบรมสั่งสอนเด็กด้วยการใช้เหตุผล การรับฟัง ต่อรองหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน โดยไม่ทำร้ายไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจเด็กจะเฝ้ามองผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัวและซึมซับเอาทั้งทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมดังคำกล่าว “ลูกไม้ย่อมหล่นไม่ไกลต้น”
ผู้ใหญ่ที่ต้องการให้เด็กผู้ชายเติบโตมาเป็นคนที่เข้มแข็งแต่อ่อนโยน อารมณ์มั่นคง สุขุมเยือกเย็น มีน้ำใจ เสียสละ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้อื่น จึงต้องทำตัวอย่างให้เห็นอยู่เสมอ ไม่ใช่เพียงแค่พร่ำสอน แต่ไม่เคยทำให้ดูเลย การเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นคนสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ดังชื่อของหลักสูตรอบรมผู้ปกครองที่เสนอไว้ คือ การเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้มีสุขภาพดีตลอดชีวิต
อ้างอิง: Kindlon, D., & Thompson, M. (2000).
Raising Cain: Protecting the emotional life of boys. Ballantine Books. |
|
|
"ความจำเป็นในการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงดูเด็กแก่ผู้ปกครอง
ผ่านโปรแกรมที่มีงานวิจัยรองรับ"
โดย ศูนย์พัฒนาศักยภาพด้านการเลี้ยงดูเด็ก (Positive Parenting promotion center)
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
|
|
|
การเลี้ยงดูเด็กที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีเป้าหมายร่วมกัน 3 ประการ คือ 1) ทำให้เด็กเติบโตอย่างปลอดภัยและมีสุขภาวะที่ดี 2) เตรียมเด็กให้พร้อมต่อการเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและผลิตภาพในอนาคต (productive adult) และ 3) ส่งต่อคุณค่าทางวัฒนธรรมของสังคมนั้น
สัมพันธภาพที่ดีและมีคุณภาพระหว่างผู้เลี้ยงดูและเด็กจึงเป็น องค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพ
จากผลการสำรวจทักษะพ่อแม่ผู้ปกครองในการเลี้ยงดูบุตรหลานโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ในปี 2565 ในกลุ่มตัวอย่าง 8,519 ครอบครัว พบมีทักษะการเลี้ยงดูผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 53.5 เท่านั้น เมื่อแยกผล 5 หมวดทักษะ พบว่า
1) การจัดการตนเองในบทบาทพ่อแม่ผู้ปกครองผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 63.1
2) การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และตัวตน ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 65.8
3) การพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิต ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 63.8
4) การดูแลกิจวัตรและสุขอนามัย ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 43.3
5) การพัฒนาทักษะการใช้ อินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 59.5
โดยพ่อแม่ส่วนใหญ่เลี้ยงเองด้วยวิธีของตนเองหรือตามประสบการณ์ ตามมาด้วยการถามจากพ่อแม่หรือญาติ และการศึกษาจากอินเตอร์เน็ต ตามลำดับ
5 การพัฒนาศักยภาพของครอบครัวในการดูแลเด็กที่มีฐานจากจิตวิทยาการเลี้ยงดู (Parenting psychology) จึงมีความสำคัญมาก จุดประสงค์ของโปรแกรมการให้ความรู้และฝึกทักษะของพ่อแม่ผู้ปกครอง (Parenting program) คือ การพัฒนาทักษะผู้ปกครองให้มีทักษะที่ดีขึ้นในการดูแลพฤติกรรมของเด็ก
จากการทบทวนโปรแกรมการให้ความรู้และฝึกทักษะของพ่อแม่ผู้ปกครอง (Parenting Program) ที่มีการดำเนินงาน ทั้งในภาคส่วนของภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยในประเทศไทย พบโปรแกรมที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูเด็ก เช่น โปรแกรมส่งเสริมทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย (Thai Preschool Parenting Program; Thai Triple-P) โปรแกรมทักษะการเลี้ยงดูเด็กเพื่อสุขภาพดีตลอดชีวิต (Parenting for Lifelong Health; PLH) และโปรแกรม Net PAMA
โปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่หลากหลายนี้ จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเมื่อสามารถจัดบริการให้ครอบคลุมเด็กกลุ่มเป้าหมายได้เพียงพอ จึงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อค้นหาแนวทางการขยายผลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กและครอบครัวเข้าถึงบริการฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กที่ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการที่หลากหลาย ครอบคลุมเด็กและเยาวชนทุกกลุ่มวัย ทุกสถานะทางสังคม อย่างทั่วถึง เป็นธรรม ยั่งยืน และไม่ซ้ำซ้อน
ด้วยเหตุนี้สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์จึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพด้านการเลี้ยงดูเด็ก (Positive Parenting Promotion Center) ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวบรวมความรู้ วิจัยเกี่ยวกับโปรแกรมฝึกอบรมด้านจิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก พัฒนาฐานข้อมูลวิทยากรและบริการด้านการฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทยให้แม่นตรง เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งสนับสนุนการขยายผลการฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กในโปรแกรมต่างๆ ที่มีการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง
ดังนั้นจึงได้เชิญโปรแกรม PLH และ โปรแกรม NetPaMa เข้ามาร่วมให้บริการด้านการฝึกทักษะด้วย ซึ่งนอกจากขยายการฝึกอบรมของโปรแกรมเหล่านี้แล้วยังจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการและบุคลากรกับหน่วยงานหรือองค์กรที่พัฒนางานด้านการฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กทั้งในและต่างประเทศผ่านทางศูนย์พัฒนาศักยภาพด้านการเลี้ยงดูเด็กแห่งนี้
การจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพด้านการเลี้ยงดูเด็กแห่งนี้จึงนับเป็นก้าวสำคัญของการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความปลอดภัยทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เกิดขึ้นกับเด็กเยาวชน โดยเน้นที่การนำโปรแกรมการเลี้ยงดูเด็กที่มีงานวิจัยรองรับมาขับเคลื่อนในประเทศไทย
|
|
|
งานวิจัย:
1. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ใน
วาทกรรมแนะนำวิธีการเลี้ยงลูกโดยแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง: การศึกษาแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
ผู้แต่ง:
นิธิชญา ใจเย็น
ศิริพร ภักดีผาสุข
วิธีวิจัย: กรอบแนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
วารสาร: วารสารอักษรศาสตร์และไทยศึกษา
ปี: 2022
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/artssu/article/view/249 |
|
|
|
|
งานวิจัย:
2. การศึกษาสภาวการณ์การให้ความรู้
ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมสุขภาวะเด็กปฐม
วัยอายุแรกเกิดถึง 3 ปี ในอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ผู้แต่ง:
เกสรี ลัดเลีย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณา
วารสาร: Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปี: 2023
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://so01.tci-
thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/269861
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
3. สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ความเหนื่อยล้าและความเครียดในการเลี้ยงดูบุตรใน
ผู้เป็นบิดาครั้งแรก
ผู้แต่ง:
กมลชนก เขตต์วัง
บังอร ศุภวิทิตพัฒนา
นงลักษณ์ เฉลิมสุข
วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์
วารสาร: วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
ปี: 2019
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/219556
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
4. ความสัมพันธ์ระหว่างทุนชีวิตกับรูปแบบการเลี้ยงดูในนักเรียนประจำที่มีความสามารถพิเศษทางวิชาการ
ผู้แต่ง:
ณัฐพล กลิ่นพุฒ
สถาบันแห่งชาติเพื่อพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
สุริยเดว ทรีปาตี
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)
พัชรินทร์ เสรี
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
วิธีวิจัย: ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ
วารสาร: วารสารศึกษาศาสาตร์ปริทัศน์
ปี: 2019
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/eduku/article/view/185250
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
5. ผลของโปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยไทย (Thai Triple-P)
ต่อพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า
ผู้แต่ง:
ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, พ.บ.
กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต
กรมสุขภาพจิต
อมรา ธนศุภรัตนา, รป.ม.
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์
กรมสุขภาพจิต
วิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม
วารสาร: วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
ปี: 2023
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://www.klungpalungjai.com/digital-file/65519d5a34e0c
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
ุ6. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการ
และวินัยเชิงบวกของเด็กวัยก่อนเรียน
โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ผู้แต่ง:
อัญชลี เอี่ยมศรี
นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เกศินี สราญฤทธิชัย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิธีวิจัย:
การวิจัยกึ่งทดลอง
วารสาร: วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ
ปี: 2022
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nah/article/view/257793
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
7. ผลของการใช้โปรแกรมการจัดกระบวนการเรียนรู้และการสร้างวินัยเชิง
บวกในเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวมีส่วนร่วมในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง:
สงกราน นะรินยา
วิธีศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง
วารสาร: วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
8. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อความรู้และทักษะของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ เด็กปฐมวัย อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง:
รุ้งทิวา จันทร์งาม
โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม
รุ่งนภา พรหมสาขา ณ สกลนคร
โรงพยาบาลบ้านแพง จังหวัดนครพนม
วิธีวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วารสาร: วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน
ปี: 2023
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1906
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
9. การศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมของเด็กออทิสติกรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูและความต้องการของผู้ปกครองในการจัดการพฤติกรรมของเด็กออทิสติก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง
ผู้แต่ง:
จินตนา ประดุจพงษ์เพ็ชร์
ศิริวิมล ใจงาม
สลักจิต ตรีรณโอภาส
สุวพัชร์ ช่างพินิจ
อนุชา ภูมิสิทธิพร
วิธีวิจัย: การเก็บรวบรวมข้อมูลและแบบสอบถาม
วารสาร: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
10. ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวคิดพฤติกรรมความคิดแบบครอบครัว ต่อพฤติกรรมการใช้จอในวัยเด็กตอนกลาง
และพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูของ
ผู้ปกครอง
ผู้แต่ง:
ศรุตยา เจริญพรพานิชกุล
ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แสงเดือน ยอดอัญมณีวงศ์
ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิธีวิจัย: การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม
|
|
|
|
|
11. พัฒนาการทางระบบประสาทของเด็กหลังการแทรกแซงหลายด้าน (Multidomain Interventions) ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนถึงปฐมวัย: The WINGS Randomized Clinical Trial
ผู้แต่ง: Ravi Prakash Upadhyay, MD; Sunita Taneja, PhD; Ranadip Chowdhury, PhD; Neeta Dhabhai, MD; Savita Sapra, PhD; Sarmila Mazumder, PhD; Sitanshi Sharma, MD; Mark Tomlinson, PhD; Tarun Dua, PhD; Harish Chellani, MD; Rupali Dewan, MD; Pratima Mittal, MD; M.K. Bhan, MD; Nita Bhandari, PhD;
for the Women and Infants Integrated Interventions for Growth Study (WINGS) Group
วิธีวิจัย: Randomized Clinical Trial
วารสาร:JAMA Neiwork
ปี: 2024
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://jamanetwork.com/journals/jama/article-abstract/2813555
|
|
|
|
|
งานวิจัย:
13. การเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมการอบรมสั่งสอนเด็กของผู้ปกครอง 11 แบบ
กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กใน 60 ประเทศ
ผู้แต่ง:
Kaitlin Paxton Ward, Andrew Grogan-Kaylor, Julie Ma, Garrett T Pace, Shawna Lee
วิธีวิจัย:
การสุ่มตัวอย่างแบบคลัสเตอร์หลายขั้นตอน
วารสาร: BMJ Journal
ปี: 2021
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://bmjopen.bmj.com/content/13/10/e058439
|
|
|
|
|
หลักสูตร คู่มือ & เครื่องมือสำหรับผู้ปฏิบัติงาน |
|
การเปิดตัวของช่อง GPI ใน WhatsApp
|
|
ข่าวที่น่าตื่นเต้นของวันนี้!!
การประกาศเปิดตัวของช่อง Global Parenting Initiative (GPI) ใน WhatsApp
โดยช่อง WhatsApp นี้จะเป็นแบบที่สมาชิกไม่ต้องเปิดเผยตัวตนและไม่มีการแสดงตัวให้คนอื่น ๆ เห็น และคุณจะได้รับการแจ้งเตือนเฉพาะเมื่อคุณเลือกที่จะรับเท่านั้น
ช่อง GPI WhatsApp เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่เรากำลังทดสอบว่าเราจะสามารถ แบ่งปันข่าวสาร ทรัพยากร วิดีโอการศึกษา และเนื้อหาอื่น ๆ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา รวมถึงผู้ดูแลเด็ก นักวิจัย และผู้ปฏิบัติงานทั่วโลกได้หรือไม่
เราจะร่วมมือกับทีมงานของ GPI และสถาบันพันธมิตรต่าง ๆ เพื่อผลิตบทความ วิดีโอ และพอดแคสต์เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กจากมุมมองทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ตลอดจนการทำงานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กด้วย
เราขอเชิญชวนให้คุณเข้าร่วมวงการที่สนับสนุนงานด้านนี้ของเรา เพื่อเชื่อมต่อกับบุคคลที่มีความสนใจเหมือนกัน เข้าร่วมในกิจกรรมเสมือนจริงและเวิร์กช็อปที่นำโดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัย และรับทราบข้อมูลด้านการเลี้ยงดูบุตรจากทั่วโลก
เข้าร่วมช่องของเรา: คลิกที่นี่
|
|
|
Early Childhood Matters 2023
Early Childhood Matters ฉบับปี 2566 ได้ประกาศเปิดตัวแล้ว โดยมูลนิธิ Bernard Van Leer Foundation ที่มุ่งเน้นเรื่องความอยู่ดีมีสุข โดยในฉบับปีนี้เราจะวิเคราะห์เจาะลึกถึงความท้าทายที่พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กต้องเผชิญในการเลี้ยงดูเด็ก และความต้องการที่เร่งด่วนด้าน
ระบบการสนับสนุนที่ดีกว่าเดิม
|
|
|
|
|
แนวทางการลดความรุนแรงต่อเด็กและสตรีที่ได้ผลจริง
ยูนิเซฟได้เผยแพร่ บทสรุปจากหลักฐานการวิจัยสู่ระดับนโยบาย โดยอาศัยการประเมินอย่าง
รวบรัดของหลักฐานจากการวิจัย เกี่ยวกับประสิทธิผลของแนวทางการปฏิบัติที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพฤติกรรม เพื่อลดทั้งความรุนแรงต่อเด็กและความรุนแรงต่อคู่ครอง ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ท่านสามารถอ่านบทสรุปได้ ที่นี่
|
|
|
|
|
APEC เผยแพร่ชุดเครื่องมือนโยบายผู้ดูแล
(The APEC Embracing Caregivers Policy Toolkit)
ชุดเครื่องมือ APEC Embracing Carers Policy Toolkit to Address the Unpaid Care Gap (Toolkit) เป็นการนำเสนอตัวอย่างนโยบาย กรณีศึกษา และขั้นตอนการดำเนินการเพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดสนับสนุนผู้ดูแลซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงได้ดีขึ้น ชุดเครื่องมือนี้ได้รวมเอา “กรอบการทำงาน 5R สำหรับการดูแลที่เหมาะสม” ซึ่งเป็นแบบจำลองของวัตถุประสงค์นโยบายเชิงปฏิบัติการที่พัฒนาโดย ILO และนำมาใช้โดยองค์กรพหุภาคีอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการตามมาตรการแทรกแซงที่มีประสิทธิผลสำหรับการดูแลที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน
ชุดเครื่องมือนี้ได้รับข้อมูลจากผลการศึกษาพื้นฐานที่เสนอโดยองค์กรและนักวิชาการระหว่างประเทศ โครงการนี้ได้จัดให้มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ปรึกษาโดยมีตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน พหุภาคี และภาคประชาสังคม ที่ให้ความเชี่ยวชาญในการสนับสนุนนโยบายที่จัดการกับบรรทัดฐานทางเพศที่เป็นอันตรายและการเลือกปฏิบัติทางเพศ และสร้างเงื่อนไขที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในทั้งด้านแรงงานและการดูแล
คลิกที่ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://www.apec.org/publications/2023/12/apec-embracing-carers-policy-toolkit-to-address-the-unpaid-care-gap
|
|
ผลกระทบเชิงบวกจากการห้ามการลงโทษทางร่างกายต่อชีวิตของเด็ก: ข้อมูลน่ารู้จากการวิจัย
เด็กมีสิทธิได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายจากการลงโทษทางร่างกายทุกรูปแบบ ทั้งในบ้านและในสถานที่อื่น ๆ สิทธิมนุษยชนนี้ได้รับการยอมรับภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ที่ได้ระบุว่ารัฐมีหน้าที่ตามกฎหมายในการตรากฎหมายเพื่อห้ามการลงโทษทางร่างกาย และต้องทำงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้และบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้
การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษทางร่างกายต่อเด็ก
ดูข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่ลิงค์นี้:
https://endcorporalpunishment.org/wp-content/uploads/2023/03/The-positive-impact-of-prohibition-of-corporal-punishment-on-children.pdf
|
|
|
|
|
งานประชุม สัมนาของ TPP CoP |
|
งานสัมมนาของชุมชนผู้ปฏิบัติงาน
ด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย (TPP CoP) ที่ผ่านมา
การสัมมนาออนไลน์ (webinar) ครั้งที่ 8
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567
เวลา 10.00 น. - 12.00 น.
ดูบันทึกการสัมมนาย้อนหลังที่
https://www.youtube.com/@thaipositiveparentingcommu8792
-----------------------------------------
(ร่าง) กำหนดการงานสัมมนาออนไลน์ (webinar) ของ TPP CoP ในปี 2024
- 30 เมษายน 2024 เวลา 10.00 น. - 12.00 น.
- 18 มิถุนายน 2024 เวลา 14.00 น.- 16.00 น.
- 28 สิงหาคม 2024 เวลา 14.00 น.- 16.00 น.
- 31 ตุลาคม 2024 เวลา 14.00 น.- 16.00 น.
- 13 ธันวาคม 2024 (อาจจะเป็นการประชุมแบบพบตัวกัน) เวลา 08.00 น. - 17.00 น.
|
|
|
|
|
งาน กิจกรรม และความเคลื่อนไหวนานาชาติ |
|
โลกที่ไร้เด็กกำพร้า การประชุมระดับโลกครั้งที่ 3
ที่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
29 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567
ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ. เชียงใหม่
ไม่มีเวลาไหนที่เหมาะสมไปกว่าเวลานี้
ในการเคลื่อนไหวระดับโลกเพื่อสร้างโลกที่ปราศจากเด็กกำพร้า
หลายปีที่ผ่านมาเกิดวิกฤตการณ์มากมาย ตั้งแต่โรคภัยไข้เจ็บ ความขัดแย้ง ไปจนถึงภัยธรรมชาติ
สิ่งนี้ทำให้พวกเราหลายคนรู้สึกเหนื่อยล้า และเรารู้ว่าเด็ก ๆ ต้องทนทุกข์ทรมานมากที่สุด
แต่ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่แสงสว่างในตัวเราทุกคนจะส่องไปในความมืด เพราะความมืดไม่สามารถเอาชนะความสว่างได้ (ยอห์น 1:5)
ด้วยเหตุนี้ เราจึงมีความยินดียิ่งที่จะจัดการประชุมครั้งที่ 3
Global Forum for a World Without Orphans (WWO), Together From Crisis to Hope
ร่วมกันเปลี่ยนวิกฤตเป็นความหวัง
ระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567
ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
เราจะแข็งแกร่งขึ้นไปพร้อม ๆ กัน!
ข้อมูลเพิ่มเติม: https://worldwithoutorphans.org/forum/global-forum-2024
|
|
|
ECD Connect
ECD Connect เป็นแพลตฟอร์มชุมชนออนไลน์ที่จัดทำโดย ECDAN เป็น พื้นที่สำหรับผู้ทำงานและผู้ส่งเสริมด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย (ECD) เพื่อหารือ จัดการกับประเด็นสำคัญใหม่ ๆ เรียนรู้จากกันและกัน รับการสนับสนุนและทรัพยากร เน้นย้ำถึงความสำเร็จขององค์กรของตน และแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อปรับปรุงชีวิตของเด็กเล็ก ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม: https://connect.ecdan.org/home |
|
|
จดหมายข่าวฉบับที่ 6 จะส่งภายในเดือนพฤษภาคม 2024 โปรดติดตาม!!
หากท่านต้องการลงข้อมูลงานวิจัย กิจกรรมขององค์กร งานประชุมสัมมนา ฯลฯ ในจดหมายข่าวนี้
โปรดส่งข้อมูลมายังผู้ประสานงานโครงการ มูลนิธิศานติวัฒนธรรม คุณเฉลิมขวัญ ชุติมา
ที่อีเมล thaipositiveparentingcop@gmail.com
ขอขอบคุณ |
|
|
|
Message from the Co-Chairs
|
|
|
Greetings and welcome to the 1st quarterly Thai Positive Parenting Community of Practice Newsletter of 2024!
We would like to take this opportunity to wish our members and newsletter recipients a happy new year and express gratitude to the participants who attended the on-site Community of Practice (CoP) conference on December 19, 2023, at the Chulabhorn Research Institute, Bangkok. The seminar, supported by the LEGO Foundation and the World Childhood Foundation, was titled “Building Strong Collaborations for Positive Parenting: From Community-Based Projects to National Policies.” The 133 participants were from various government ministries, universities, hospitals, schools, political parties, NGOs, scholars, researchers, and the general public. We truly hope that the seminar will contribute to strengthening collaboration across all levels, from community-based initiatives to national decision-makers, emphasizing the importance of promoting positive parenting skills. We advocate for the adoption of policies, guidelines, and curricula that are substantiated by research or have been proven to have a positive impact on the quality of life for children, youth, and parents for the benefit of child protection and the potential to relieve social problems related to children, youth, and families.
This year, the CoP remains committed to being a central support hub, promoting the exchange of knowledge and fostering cooperation in expanding positive parenting efforts to ensure the well-being and healthy development of children throughout Thailand.
In 2024, as previously, we plan to organize webinars every two months, release newsletters every three months, and upload various resources to our website. These efforts aim to facilitate learning, share research findings, provide training materials, discuss practical strategies, share experiences and lessons both at the national and international levels, and be a collective voice to promote positive parenting practices.
Please continue to engage with our community by remaining a member or becoming a new member at www.thaipositiveparentingcommunity.org and reach out to our coordinator to submit your information, such as courses, manuals, research, and articles on child development and protection. This will enable the coordinator to publish your contributions on the
website and in newsletters. If you have events or activities you would like the coordinator to help promote, feel free to send them as well. Additionally, if you have any suggestions to help the CoP to be more a collaborative network and maintain stronger relationships with members and the public to drive forward positive child parenting in Thailand, we welcome your input.
We are particularly pleased to consider any proposals you may have. Please send your suggestions to the coordinator for consideration by the CoP secretariat. Finally, we wish you all the best throughout 2024, full of joy and success in various aspects you have set out to achieve. We hope that everyone enjoys good physical and mental health for positive living every day.
Best wishes,
Dr. Sombat Tapanya
Dr. Panadda Tanasetakorn
Dr. Amalee McCoy
|
|
|
Since our community currently has members from all over the country, we would like to use this space to gradually introduce members of the community during each issue. |
|
|
1. Department of Children and Youth,
Ministry of Social Development and Human Security
Vision:
The Department of Children and Youth under the Ministry of Social Development and Human Security aims to be the leading organization in policy formulation to foster the development of Thai children and youth for a quality and sustainable life.
Mission:
1. Develop proactive policies and measures related to children and youth.
2. Promote, support, and develop children and youth with essential age-appropriate life skills.
3. Develop and link a nationwide child and youth protection system.
4. Develop an appropriate welfare system for children and youth that aligns with the context of Thailand.
5. Integrate community networks to solve agenda-based issues.
6. Develop high-capacity personnel and organizational management systems.
7. Develop a modern information database system to support child protection and development.
Over the years, the Department of Children and Youth has worked considerably to enhance the potential of children and youth in three main areas:
1) Promotion and development of children and youth capabilities, including support for establishing children and youth councils throughout the country, supporting early childhood care centers and private child development centers, promoting digital skills for children and youth, moral and emotional intelligence development, education for children, development of science skills (RF 21), sports and art skills for children in care, and developing 21st-century leadership skills for children and youth in both domestic and international contexts offering career support, particularly in the form of enhancing youth career skills, long-term vocational training for teenage mothers and short-term financial assistance.
2) Protection and advocacy of child rights, including providing services in 33 child care centers all over the country and 77 children and family care homes assisting 34,273 children, establishing 5,013 community protection centers at the sub district level to be an area-based mechanism for protection and support in diverse dimensions. As a result, 15,812 children received assistance through the mechanism, and the projects were also implemented to repair and build 136 safe houses for children covering 77 provinces. This involves improving and
repairing to make the living environment safe for children through CSR initiatives in collaboration with government agencies, private sectors, and relevant networks.
3) Welfare promotion for children, youth, and families, such as financial support for newborn care through the Child Protection Fund. The fund was initiated to support children and organizations to carry out child protection projects/activities, promote growth in a family environment through temporary and permanent foster care as well as child adoption both domestically and internationally, support the four requisites for children in care centers according to their age group, and provide financial aid to low-income households, children in
extreme poverty, and children in foster care.
Location: 1034 Krungkasem Rd., Klongmahanak, Pomprabsattrupai, Bangkok 10100
Tel: 02 2555850
Website: https://www.dcy.go.th/
2. Positive Parenting Promotion Center
Objectives:
1. To establish a center as a hub for knowledge, research, and training in the psychology of parenting.
2. To gather information, study, and analyze the situation of parenting, the impact of parenting
on the development and mental health of children, and the needs and necessities of parents in developing children within diverse social and demographic contexts.
3. To process and expand the results of evidence-based parenting skill training programs.
4. To develop a database of experts and services in parenting skills in Thailand, ensuring it remains precise, current, and ready for application in supporting the expansion of parenting skill training.
5. To exchange academic knowledge and personnel with units or organizations involved in developing expertise in parenting skills, both domestically and internationally.
Place of Operation: Rajanagarindra Institute of Child Development, 196 Moo 10, Don Kaeo, Mae Rim,
Chiang Mai, 50180
Tel: 053-908-300
Email : positiveparentingricd@gmail.com
3. The Promotion of Persons with Learning Disabilities Association of Thailand
The Promotion of Persons with Learning Disabilities Association of Thailand is an organization initiated by the recommendations of qualified individuals with disabilities. It aims to bring together caregivers of persons with learning disabilities to foster relationships among young people with learning disabilities. This collaboration facilitates the sharing of experiences among families and provides academic support to strengthen life skills, vocational education, and employment.
In 2008, the organization achieved success through financial support from the Fund for the Promotion of Equality for Persons with Disabilities. Subsequently, in 2011, the organization changed its structure to a legal entity in the form of an association. It has since collaborated with various nationwide networks in line with the National Disability Strategies. Moreover, it has officially registered as an organization for persons with disabilities involved in learning activities under the Department of Empowerment of Persons with Disabilities as well as a social enterprise.
After obtaining permission from the Revenue Department, the organization is now authorized to accept electronic donations to support public benefit activities focusing on environmental protection and empowering individuals with learning disabilities through capacity building to ultimately enhance their quality of life.
The association has implemented a service program for individuals with learning disabilities, collaborating with various networks aimed at addressing reading deficiencies and challenges with print, the restoration of capabilities such as calculating, and evaluating their surroundings, as well as the ability to write for effective communication, which is a fundamental problem for people with vision and hearing impairments which may lead to psychiatric disorders if left unaddressed.
With over 15 years of operation, the association has provided services over 3,000 individuals with learning disabilities, expanded its reach to at least 100,000 persons in schools, impacted society to a certain extent which is currently being surveyed and researched, and engaged in numerous academic and relationship-building activities. The association believes that, in the future, there will be an increase in the number of people with learning disabilities who will have access to legal benefits. Simultaneously, some individuals with learning disabilities may discontinue the use of their disability identification card because they can lead a life similar to that of a typical person. This belief is part of the association’s aspiration, which is to leave no one behind and to include people with learning disabilities in society.
Today, many individuals with learning disabilities, including women, are leveraging their challenges to achieve success in life. They join forces to foster understanding and support those encountering similar difficulties to help them overcome obstacles.
The association takes pride in serving as a platform for academics and fostering positive relationships within the learning disabilities (LD) community, welcoming members of all genders, ages, nationalities, languages, and attitudes. We invite you to share your experiences and utilize our services to further enhance the lives of people with learning disabilities.
Contact us:
77/184 Moo.3 T. Samet A. Muang Chonburi Province 20000
Tel: 086 914 2299 Khun Sumamaan / 061 547 8746 Khun Sirichai / 081 537 9906 Khun Jirapat / 081 530 1024
Khun Nitivadee / 086 325 1357 Khun Boonrit
For more information, you can visit the association’s Facebook page by searching for Thai dyslexia.
Additionally, members can conveniently share work files and documents within the group ‘Club for Promoting the Potential of Persons with Learning Disabilities in Chonburi’
(ชมรมส่งเสริมศักยภาพบุคคลบกพร่องทางการเรียนรู้จังหวัดชลบุรี)
Join our Line OpenChat by searching for ‘Thai LD Community’
|
|
|
|
|
|
|
Thai Positive Parenting Community of Practice
First in-person meeting |
|
|
On 19 December, the Peace Culture Foundation team organized the First In-Person CoP Conference at Chulabhorn Research Institute Convention Centre in Bangkok, in partnership with the National Institute for Child and Family Development at Mahidol University. The theme of the conference is Building Strong Partnerships for Positive Parenting: From Community-based Programs to National Policies. Dr. Sombat Tapanya, the representative of the co-chair, gave welcome and opening remarks including explaining the objectives of the TPP CoP. In addition, it was honored by Ms. Paula Guillet de Monthoux, Secretary General of the World Childhood Foundation, and Mr. Aaron Lee Morris, Partnerships Specialist, The LEGO Foundation, the sponsoring organization for this conference, who gave the opening remarks and congratulated the TPP CoP on the first in-person seminar.
There was a total of 133 participants from government agencies, UN agencies, NGOs, schools, universities, academics, private sector and others).
The In-Person COP Conference was live-streamed using Facebook Live on the page of the National Institute for Child and Adolescent Development at Mahidol University and has over 2,000 views (see https://fb.watch/pD9-4qJO6P/?mibextid=v7YzmG).
|
|
|
During the event, a MOU was signed between the Peace Culture Foundation and the National Institute for Child and Family Development at Mahidol University to formally
co-chair the COP. |
|
|
|
Activities within the event, the morning session was a panel discussion with representatives from government agencies on putting positive parenting on the policy agenda and the other session was on promoting positive parenting through evidence-based programmes. In the afternoon, there were 4 parallel working groups with the following topics:
- Digital parenting programme interventions
- Monitoring and evaluating parental engagement & impact
- Policy advocacy for positive parenting programmes
- Collaborative methods in working with parents
|
|
|
Outside the conference room, there were 6 booths of TPP CoP members presenting their organization and works;
1. Rajanagarindra Child Development Institute, Chiang Mai
2. Parenting for Lifelong Health- Young Children (PLH-YC)
3. Compassion Thailand
4. HIPPPY program
5. Net PAMA
6. Board games from Club Creative Company Limited. |
|
|
|
|
Positive Parenting Fun Run #1 |
|
|
The Thai Health Promotion Foundation in collaboration with the Department of Mental Health organized the "Positive Parenting Fun Run #1" suggesting the principles of "Hug, Admire, Talk, Listen" in line with "Positive Parenting." It aimed to promote physical, mental, emotional, social, intellectual, and relationship well-being within families. The initiative hopes to serve as a mental health “vaccine” preventing mental health problems for children and youth.
On January 21, 2024, the Department of Mental Health, Ministry of Public Health, collaborated with the Health Promotion Foundation (ThaiHealth) and the Positive Parenting Network to organize the event titled " Positive Parenting Fun Run #1" at the Animal Battalion of the Royal Thai Army Animal Department in Don Kaeo Subdistrict, Mae Rim District, Chiang Mai. The activity aimed to promote positive parenting among parents of early childhood children, school-age children, and teenagers through engaging exercises that focus on five bases of positive parenting skills along the 3.5-kilometer walking/running route. More than 200 families, including over 700 participants, joined the activity.
Dr. Dusadee Jungsirakulwit, Director of the Mental Health Service System Administration Division and Manager of the Mental Health Public Policy Development Plan said that, in 2022, the Department of Mental Health conducted a study on behavioral, emotional, and social issues leading to long-term mental health and psychiatric disorders among teenagers aged 10-19 years. The findings revealed that approximately 1 in 7 individuals, including children aged 5-9 years at a rate of 1 in 14, experienced neuropsychiatric and emotional disorders. 17.6 percent of teenagers aged 13-17 years reported thoughts of self-harm, ranking it as the third cause of death among this age group. Addressing such challenges requires active family participation, beginning with the promotion of positive parenting. This approach encompasses positive family communication, engaging in activities together, and establishing a supportive network for parents in raising children. If every family recognizes and emphasizes child development through positive parenting, eventually there will be the potential to foster a positive community, nurture high-quality Thai children for Thailand, and reduce mental health problems among children and teenagers.
Dr. Hathaichanee Buncharoen, Director of the Rajanagarindra Institute of Child Development, highlighted the importance of the " Positive Parenting Fun Run #1" activity in incorporating key principles of positive parenting. The event guided parents, encouraging them to “Love and Hugs, Praise from the Heart, Talk to Your Heart, and Listen with Your Heart.” The event also featured booths offering knowledge activities with the participation of more than 700 children and parents.
For those interested in information and knowledge on positive child parenting skills,
please follow the Facebook page: Running with Your Child Positive Parenting Fun Run #1." (วิ่งกับลูก Positive Parenting Fun Run #1)
|
|
|
The Department of Children and Youth organized a workshop to promote child and youth development in 2024 |
|
|
On Friday, January 19, 2024, at 9:30 AM, Mrs. Apinya Chompumas, the Director General of the Department of Children and Youth, Ministry of Social Development and Human Security, appointed Mr. Uthen Chanakul, Deputy Director General, to preside over the opening of the workshop project to stimulate child and youth development for the 2024 fiscal year. The workshop aimed to provide knowledge of various relevant laws and regulations concerning budget support guidelines. It also provided a platform for gathering insights from organizations involved in driving child and youth development. The target audience included representatives from both private and community organizations in child and youth development, experts, observers, and officials from the Department of Children and Youth. The event took place at the Ruangkhao Nawakhun Grand Conference Hall on the 11th floor, Zone A, and was conducted via the online meeting system (Zoom Cloud Meeting), with a total of 36 participants. |
|
|
The 1st Net PAMA Academic Conference |
|
|
The 1st Net PAMA Academic Conference titled "Factors of Success in Establishing Net PAMA Classrooms" primarily aimed to showcase achievements in expanding and establishing Net PAMA classrooms. Additionally, the workshop was conducted to improve the skills and capabilities of facilitators for conducting group activities with parents in future programs.
The conference occurred on Friday, January 26, 2567 from 8.30 AM to 4.00 PM at the Phra Erawan 1-2 Room on the 2nd floor of the Asawin Grand Convention Hotel in Bangkok. The objective was to create a platform for participants to listen, exchange experiences on the establishment of Net PAMA classrooms in their local context, and share effective tools and resources for fostering the development of children, youth, and families in Thailand. |
|
|
National Safer Internet Day on February 6, 2024 |
|
|
The National Safer Internet Day was established in response to the Cabinet resolution on February 28, 2023. The resolution approved a proposal by the Ministry of Social Development and Human Security to actively support activities promoting a safe online environment for children across the country and designated the second week of February each year as “National Safer Internet Day” in Thailand. In addition, the Ministry of Social Development and Human Security collaborated with the Thailand Safe Internet Coalition, comprising government entities, private sector representatives, and civil society organizations. They initiated several activities together to raise awareness about safe internet use for children and youth in Thailand.
The activities aim to foster a secure online environment in all significant aspects and to build awareness of online threats with relevant stakeholders such as the government, private sector, telecommunication entrepreneurs, and civil society. This collaborative effort operated as part of a monitoring and prevention network to protect Thai children and youth from the negative impacts of inappropriate internet use.
The "National Safer Internet Day" served as a crucial milestone for all stakeholders to collectively reflect on their efforts, raise awareness about the safe and creative use of online media, elevate standards for online safety, establish a protective system, and create mutual defense by digital literacy for everyone in society to ultimately make the internet a safe space for all users. |
|
|
Press conference on "4-year-olds falling from buildings" |
|
|
On February 2, 2024, the National Institute for Child and Family Development, Mahidol University, together with the Research Center for Safety Promotion and Injury Prevention in Children, Faculty of Medicine at Ramathibodi Hospital, held a press conference on the issue of "4-year-olds falling from buildings."
The conference, led by Associate Professor Dr. Adisak Pholrat, Director of the National Institute for Child and Family Development, Mahidol University, and Mr. Prajoub Pholrat, Public Relations Officer of the Research Center for Safety Promotion and Injury Prevention in Children, Faculty of Medicine at Ramathibodi Hospital, aimed to raise awareness and highlight the importance of safety measures to prevent accidents, such as falls from buildings or heights, which can happen to children. This information is crucial for parents, designers, and building owners to prevent accidents effectively. |
|
|
The 2nd Early Childhood Learning Exchange Academic Conference in 2024 |
|
|
"Nurturing Care Framework (NCF) for Optimal Early Childhood Development: A Caring Approach"
On Sunday, February 18, 2024 the National Institute for Child and Family Development, Mahidol University, organized an academic conference, inviting early childhood teachers, childcare providers, parents, guardians, and interested individuals to participate. There were more than 3,300 teachers, childcare providers, parents, and others who participated online.
|
|
|
First Launch: Family Ministry Community of Practice |
|
|
On January 19, 2024, Compassion Thailand launched a family ministry community of practice through an online platform. This community was established with the following objectives:
1. To strengthen and encourage commitment to the family ministry;
2. To expand the network of those working in family-related fields; and
3. To share knowledge and experiences among members/organizations in family ministry.
For this event, the foundation invited speakers representing the House of Love Fellowship, Ban La-ub Church, Step Ahead Foundation, and the Thai Positive Parenting Community of Practice to share their experiences and insights on family and child-related works, aiming to inform members and build a collaborative network. |
|
|
|
|
Upcoming Activities & Events |
|
|
1. "Join our online seminar: "Raising children who do not grow up to engage in corruption"
Invitation to teachers, caregivers, human development professionals, and alumni of the Human Development Program:
Date: March 2, 2024
Time: 09:00-12:00
Learning Platform: Zoom and Facebook Live
Free of charge
|
|
|
|
|
2. Happy parents, Happy kids: Using the Satir model |
|
|
|
We invite all fathers, mothers, and other guardians to join us in exploring our inner world through the Satir model. Let's return to kindness and find happiness in being ordinary parents so we can gift this happiness to our children.
Join us for "Connecting Hearts, Understanding Our Children through the Satir Model: Happy Parents, Happy Kids" at the Tree Scape Retreat Resort in Chiang Mai, Hang Dong, Chiang Mai,
On Monday, March 4, 2567, from 9:00 a.m. to 4:00 p.m.
Registration fee is 3,000 baht
Seats are limited.
The Satir model encourages parents to understand what is happening in our inner world when we are with our children:
- Behind every behavior lies a hidden, positive story. Understanding this can help us connect with the beauty within ourselves and others. Beneath anger and sadness, there may be a well-intentioned motive. When our children cry, they may seek reassurance, and when they feel disappointed, they may strive for self-improvement.
- Every emotion and feeling conceals something positive. Anger may signal that we deserve better or prompt us to protect our children from harm. Jealousy may drive us to seek better opportunities for our children.
- What if we acknowledge these feelings and recognize the true intentions behind them?
- Children don't need parents who are "the best," but rather parents who are ordinary humans, capable of accepting, loving, and trusting their little ones.
- Happy parents can impart happiness to their children.
This is an excerpt from the live event "Connecting Hearts, Understanding Our Children," which took place on February 5, 2567. You can watch the replay https://www.youtube.com/watch?v=7gdAqCkekkY |
|
|
|
|
3. 8th “Play and Learn, Side by Side with Nature" event |
|
|
Join us, parents and guardians, in inviting your 7-9-year-old children to participate in the 8th "Play and Learn, Side by Side with Nature" event during March 26th to 29th, 2024
This city-wide camp aims to enrich learning experiences through the authentic exploration of nature.
- Natural Sensory Activities: Experience nature's touch through memorable activities.
- Scavenger Hunt: Challenge skills and creativity in finding nature's beauty.
- Safety Skills: Learn how to play and have fun safely in nature.
Registration: https://forms.gle/bpkarfc6ctLJX2xz7
For further details, please contact 092-4145296 (during business hours) or 082-3217721 (outside business hours).
Line: https://line.me/ti/g/VwAo5w16mh
|
|
|
4. "The Ultimate Grandparent: Music for child and elderly development"
Invitation to parents, guardians, seniors, and interested individuals to join our online training session:
"The Ultimate Grandparent: Music for Child and Elderly Development"
Tuesday, March 5, 2024
For further details, please call 092-4125296 (during business hours).
Link for registration: https://nicfd-member.mahidol.ac.th/course/detail/214
Participants will learn techniques for using music activities to enhance early childhood and elderly development.
For additional information or inquiries, please do not hesitate to contact us:
Tel: 083-5281083 or 02-4410602-10 ext. 1417 (available during business hours)
|
|
|
|
|
5. 1st International Conference on Childhood Verbal Abuse: Words Matter: Impact and Prevention of Childhood Verbal Abuse (online meeting)
11 April 2024, 10:00 am–5:00 pm
*Online via Zoom and in English only.
Childhood verbal abuse can result in substantial harmful impacts on children’s social-emotional development that can have long-term mental and physical health impacts throughout their lifetime. While substantial attention and investments have been made toward the prevention of childhood sexual and physical abuse, demonstrating significant declines in their prevalence, there is currently no such focus given to childhood verbal abuse, which is highly pervasive.
This one-day event with the World Health Organization's (WHO), UK-based Collaborating Centres in Violence Prevention and Investment in Health and Wellbeing, together with University College London’s (UCL) Division of Psychology and Language Sciences, will bring together presentations from global experts in the study of adverse childhood experiences (ACEs), neuroscience, developmental psychology, and public health to elucidate and promote discussions on unifying definitions, impact, societal cost burden, and prevention.
For more information and registration click here: https://www.ucl.ac.uk/psychoanalysis/events/2024/apr/words-matter-impact-and-prevention-childhood-verbal-abuse
|
|
|
ุ6. Comprehensive Training Program for Promoting Children with Autism and Special Needs (Thai Model)
Foundation Course
Invitation to interested parties, doctors, and professionals to join the training in the "Comprehensive Training Program for Promoting Children with Autism and Special Needs (Thai Model)" (Foundation Course)
on 12-15 March 2024.
Register via QR-CODE.
For more information: call 0924145296
or read more information at https://cf.mahidol.ac.th/.../%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD.../
|
|
|
|
|
7. Comprehensive Training Program for Promoting Children with Autism and Special Needs (Thai Model)
Practical Course
Invitation to interested doctors and professionals to join the training program "Comprehensive Training for Promoting Children with Autism and Special Needs (Thai Model) (Practical Course)"
- Batch 1: May 13-17, 2024
- Batch 2: June 10-14, 2024
For more information: call 0924145296
or read more information at
|
|
|
|
|
8. 31st School Safety Practical Training
The National Institute for Child and Family Development (NICFD) and the Center for Safety and Injury Prevention (CSIP), Faculty of Medicine at Ramathibodi Hospital, Mahidol University, are pleased to announce the launch of the "MU Safe School" project. This initiative aims to enhance safety within schools and to certify them as safe school environments.
The "MU Safe School" project serves as a platform to develop potential and promote experiences in safety and health for teachers, caregivers, parents, and community members residing in school vicinities. The project also seeks to enhance safety development processes and elevate the standards of school safety certification under the Mahidol University Safe School program.
Training sessions will be conducted monthly, as detailed in the attached promotional poster. If you are interested, we welcome you to apply.
Scan QR code for registertion |
|
|
|
|
|
9. Parent Trainer Certification Program: One-year short course training
This course aims to enhance learners' skills to become facilitators or Certified Parent Trainers (CPAT) for groups of parents seeking to change their children's behavior using positive parenting techniques. Designed and taught by Prof. Chanvit Pornnoppadol, along with a team of psychiatrists and psychologists specializing in Parent Management Training (PMT) and the development of the Net PAMA program.
This course is suitable for individuals working in child and family development (both in the public and private sectors) including pediatricians, psychiatrists, family medicine physicians, psychiatric nurses, psychologists, social workers, public health professionals, social developers, teachers, and individuals working with children and families.
Qualifications of applicants:
1. Hold a bachelor's degree or higher (any field);
2. Have a minimum of 3 years of experience in child and family development; and
3. Previous experience as a facilitator or in group therapy is a plus.
Scan QR code for registration |
|
|
|
|
Articles and Research Highlights |
|
|
Article
Boys and Violence
Sombat Tapanya, PhD
Peace Culture Foundation
In the past year, news reports about young boys committing acts of violence have created great concern for parents and caregivers - especially the news stories of a boy who shot 4 people dead in a mall as well as a group of teenagers who murdered a homeless woman and threw her body in a pond. This week in the United States, there was a case in which prosecutors ordered that the parents of a teenage boy who shot and killed four friends at school should be punished for manslaughter. This was because they bought a gun for the boy, took him to a shooting range for practice, did not closely supervise him, ignored many signs of his distress, and let him carry a gun to school.
Meanwhile in Thailand, a debate about this matter is raging among experts, the authorities, and the general public whether parents should be held accountable and punished if their child commits a serious crime like this one. The criticism that is often heard when something like this happens is the public pressure to increase the severity of the punishment and lower the age of criminal responsibility so that child offenders can be prosecuted like adults. In addition, the public often asks for harsher control of children.
It is commonly known that the majority of interpersonal violence problems involve boys more than girls. The ratio of boys in the justice system is also significantly higher than girls. Understanding boys' development and ways of thinking may help us to prevent such problems.
Research shows that one of the most important factors affecting the mental health and behavior of boys are their relationship interactions with their parents in daily life. Children who have aggressive behavior often display similar characteristics, such as having difficulties communicating their feelings or being influenced by harmful “masculine” values. Such characteristics lead to poor emotional regulation, stress, and outbursts in violent behavior. For example, social perceptions are that men must not show their weakness to anyone: they must be leaders who are always strong, aggressive, and competitive.
Teenagers are forming their own identity and seeking independence yet they need acceptance from their peers. Sometimes they are even willing to take risks and accordingly agree to commit crimes just to get approval from friends. The adults around boys can help them grow into emotionally healthy men whose behavior is not a threat to themselves or others.
Adults should frequently talk with children about their emotions and focus on listening and trying to understand rather than teaching. Such behavior should make it easier for boys to communicate or reach out for support when needed. Boys are often rambunctious, which can be annoying for people around them. Adults must be patient and accept their nature, and create opportunities for boys to use their energy to express themselves. Boys often try to protect themselves by being aggressive, distrustful, or condescending towards adults. If we want them to open up, we will have to be patient with their poor manners, being taciturn, or refusing to speak at all.
Boys are often influenced by media that portrays masculine bravery or strength, such as when fighting villains and using violence to solve problems. Parents and adults in their lives can provide positive role models and show them that courage can be expressed in other ways, and it is not limited to just using violence. Courage can be expressed through perseverance and tenacity to overcome life's challenges through standing up for what is right and resisting pressure from peer groups, by having the courage to protect yourself or someone weaker, and by using intelligence rather than force.
Some studies show that children who are aggressive and bully their peers, similar to violent adult criminals, often grew up with a violent upbringing and emotional neglect. Such individuals would often lack empathy and are unable to express affection or form healthy relationships with people around them. When stressed or frustrated, they often resort to violence as a tool to cope. Positive parenting is thus essential in order to bring up healthy boys, as the name of the program ‘Parenting for Lifelong Health’ implies.
Reference: Kindlon, D., & Thompson, M. (2000). Raising Cain: Protecting the emotional life of boys. Ballantine Books.
|
|
|
"The need to promote parenting skills to child guardians through research-based programs "
Positive Parenting Promotion Center at Rajanagarindra Institute of Child Development (RICD)
|
|
|
The goals of parenting worldwide are threefold: 1) ensuring children grow up safely and in good health, 2) preparing them to become quality, productive adults in the future, and 3) passing on the cultural values of society. A strong relationship between caregivers and children is thus a crucial component in the quality development of children.
From the results of a survey on parental skills conducted by the Department of Women's Affairs and Family Development in 2022, with a sample group of 8,519 families, it was found that only 53.5% of parents met the criteria for proficient parenting skills. When breaking down the results into five skill categories, it was found that
1) 63.1% met the self-management criteria in the role of parents,
2) 65.8% met the criteria for creating an environment to enhance learning and self-esteem,
3) 63.8% for developing life skills,
4) 43.3% for taking care of daily routines and health, and
5) 59.5% for developing skills in using the internet and social media.
Most parents primarily raise their children using their own methods or based on their experiences, followed by asking other parents or relatives and learning from the Internet, respectively.
The development of family capabilities in caring for children, based on parenting psychology, is therefore very important. The objective of parenting programs is to improve parents' skills in managing children's behavior.
From a review of parenting programs conducted in Thailand, it was found that programs implemented by the government, private sector, and universities have been effective in developing parenting skills. Programs such as the Thai Preschool Parenting Program (Thai Triple-P), the Parenting for Lifelong Health (PLH) Young Children program, and the Net PAMA program have been particularly successful in promoting effective parenting skills.
These diverse parenting training programs will be most beneficial when they can provide sufficient coverage for the target group of children. Therefore, further study is needed to find effective ways to expand their impact, allowing children and families to access parenting training services that meet their diverse needs and problems. This should cover children and adolescents of all ages, social statuses, universally, fairly, sustainably, and without duplication.
Therefore, the Rajanagarindra Institute of Child Development (RICD) has established the Positive Parenting Promotion Center to serve as a hub for research knowledge on parenting training programs, develop a database of trainers, and provide accurate parenting skills training services in Thailand. The center also supports the expansion of successful parenting skills training programs. In this regard, the PLH and NetPaMa programs have been invited to join in providing training services. Apart from expanding these programs, it will also facilitate the exchange of academic learning and personnel with organizations or institutions developing parenting skills training programs both domestically and internationally.
Therefore, the establishment of the Positive Parenting Promotion Center represents a significant stride toward fostering collaboration between government agencies and civil society organizations to enhance the quality of life and ensure the physical and mental safety of children and adolescents. The center's focus is on implementing research-backed childcare programs in Thailand.
|
|
|
Research:
1. The Relationship between Language and Ideologies in the Discourse of Positive Parenting by Medical Specialists: A Critical Discourse Analysis
Author:
Niticharya Chaiyen
Faculty of Arts, Chulalongkorn University
Siriporn Phakdeephasook
Faculty of Arts, Chulalongkorn University
Method: framework of Critical Discourse Analysis (CDA)
Journal: Journal of Arts and Thai Studies
Year: 2022
|
|
|
|
|
Research:
2. The Study on the Situation of Parenting Education to Enhance the Wellbeing of Young Children from Birth to Three Years in Sri Sakhon District, Narathiwat Province
Authors:
Kessaree Ladlia
Faculty of Education, Yala Rajabhat University
Methods:
Quasi-experimental research uses the pretest-posttest control group design
Journal: Journal of Inclusive and Innovative Education
Year: 2023
|
|
|
|
|
Research:
3. Marital Relationship, Fatigue, and Parenting Stress Among First-time Fathers
Authors:
Kamonchanok Khetwang M.N.S.
Bungorn Supavititpatana PhD
Nonglak Chaloumsuk PhD
Methods:
Descriptive correlational
research
Journal: Journal of Nursing and Health Care
Year: 2019
Click here for further study:
|
|
|
|
|
Research:
4. Relation among Life Assets with Parenting Style of Academically Talented Students in a Residential School
Authors:
Nattapon Klinput
National Institute for Child and Family Development Mahidol University
Wimontip Musikaphan
National Institute for Child and Family Development, Mahidol University
Suriyadeo Tripathi
The Moral Center (Public Organization)
Patcharin Seree
National Institute for Child and Family Development Mahidol University
Method:
Quantitative research methodology
Journal: Kasetsart Education Review
Year: 2020
|
|
|
|
|
Research:
5. The effect of the Thai Preschool Parenting Program (Thai Triple-P) on development and emotional intelligence among children at risk of developmental delay
Authors:
Dutsadee Juengsiragulwit, M.D.
Bureau of Mental Health Service Administration, Department of Mental Health
Amara Thanasuparutana, M.P.A.
Rajanagarindra Institute of Child Development, Department of Mental Health
Methods: a quasi-experimental study
Journal: Journal of Thai Mental Health
Year: 2023
|
|
|
|
|
Research:
6. Effects of caregiver’s behavioral modification program on development and positive discipline promotion for pre-school children by application of health literacy concept
Authors:
Anchalee Aeamsee
Master of Public Health in Health Education and Health Promotion, Faculty of Public Health Khon Kaen University
Kesinee Saranrittichai
Faculty of Public Health Khon Kaen University
Method:
Quasi-experimental research
Journal: The Journal of Nursing Science and Health
Year: 2022
|
|
|
|
|
Research:
7. Effects of Implementing a Learning Process and Positive Discipline Building Program in Early Childhood Children with Family Participation in the Responsible Area of Somdet Hospital, Somdet District, Kalasin Province.
Author:
Songkran Narinya
Method: Quasi Experiment
Journal: Journal of Environmental Health and Community Health
Year: 2023
Link for further study:
https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1288
|
|
|
|
|
Research:
8. Effects of preschool parenting program on knowledge and caring skills of parent for promoting development and emotional quotient of early childhood in Banphaeng District,Nakhonphanom Province.
Authors:
Rungtiwa Janngarm
Rungnapa Promsakha Na Sakonnakhon
Methods: quasi-experimental research
Journal: Journal of Environmental Health and Community Health
Year: 2023
link for further study:https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/1906
|
|
|
|
|
Research:
9. A Study of Behavior Problems in Children with Autism, Parenting Style and Need of Behaviors Management in Lower Northern Region
Authors:
Jintana Pradujphongpetch
Siriwimol Jaingam
Salakjit Triranaopas
Suwapatchara Changpinit
Anucha Phoommisittiporn
Method:
questionnaires and data analysis
Journal: Journal of Humanities and Social Sciences
Year: 2023
|
|
|
|
|
Research:
10. Effects of Cognitive Behavioral Family Group Counseling on Screen Time Usage in Middle Childhood and Parenting Practices
Authors:
Saruttaya Charoenphonpanitkul
Department of Psychology, Faculty of Humanities, Chiang Mai University
Saengduean Yotanyamaneewong
Department of Psychology, Faculty of Humanities, Chiang Mai University
Method: Randomized controlled trial
Journal: Hatyai Academic Journal
Year: 2023
|
|
|
|
|
Research:
11. Child Neurodevelopment After Multidomain Interventions From Preconception Through Early Childhood
The WINGS Randomized Clinical Trial
Authors:
Ravi Prakash Upadhyay, MD; Sunita Taneja, PhD; Ranadip Chowdhury, PhD; Neeta Dhabhai, MD; Savita Sapra, PhD; Sarmila Mazumder, PhD; Sitanshi Sharma, MD; Mark Tomlinson, PhD; Tarun Dua, PhD; Harish Chellani, MD; Rupali Dewan, MD; Pratima Mittal, MD; M.K. Bhan, MD; Nita Bhandari, PhD;
for the Women and Infants Integrated Interventions for Growth Study (WINGS) Group
Method: Randomized controlled trial
Journal: JAMA Network
Year: 2023
|
|
|
|
|
Academic articles
12. How is Parental Mental Health a Risk for Child Maltreatment?
|
|
|
|
|
Research
13. Associations between 11 parental discipline behaviours and child outcomes across 60 countries
Author:
Kaitlin Paxton Ward, Andrew Grogan-Kaylor, Julie Ma, Garrett T Pace, Shawna Lee
Method:
MICS data collection occurred using multistage cluster sampling in which households were randomly selected for participation within clusters.
Journal: BMJ Journal
Year: 2021
Link for further study: https://bmjopen.bmj.com/content/13/10/e058439
|
|
|
|
|
GPI WhatsApp channel launch
|
|
|
We're thrilled to announce the launch of the Global Parenting Initiative's (GPI) WhatsApp channel!
WhatsApp channels are anonymous and inconspicuous and you only get notifications if you opt in. The GPI WhatsApp channel is a new platform that we’re testing where we can share news, resources, educational videos and other content with our stakeholders, including caregivers, researchers, and practitioners worldwide.
Together with GPI colleagues and partner institutions, we plan to develop articles, videos, and podcasts on parenting from diverse cultural perspectives as well as conduct parenting-related research.
Join our supportive environment to connect with like-minded individuals, participate in virtual events and workshops led by experts and researchers, and explore the richness of global parenting practices.
Join the channel click here |
|
|
Early Childhood Matters 2023
The 2023 edition of Early Childhood Matters launched by the Bernard Van Leer Foundation is here and it's all about wellbeing. This year's issue explores the challenges that parents and caregivers face in raising children, and the urgent need for better support systems.
|
|
|
|
|
What Works to Reduce Violence Against Children and Women
UNICEF has released an evidence-to-policy brief based on a rapid evidence assessment of the effectiveness of social and behavior change-informed interventions to reduce both violence against children and intimate partner violence in low- and middle-income countries. Access the brief here |
|
|
|
|
APEC Releases Embracing Caregivers Policy Toolkit |
|
|
The APEC Embracing Carers Policy Toolkit to Address the Unpaid Care Gap (Toolkit) puts forward policy examples, case studies, and implementation steps to help all stakeholders better support caregivers, most of whom are women. To make the case for investing in the care economy, the Toolkit incorporates the “5R framework for decent care”, a model of action-oriented policy objectives developed by the ILO and adopted by other multilateral organizations, to guide the implementation of effective interventions for unpaid care.
The Toolkit was informed by the foundational literature put forward by international organizations and academics. The project convened an Expert Advisory Group with representation across government, private sector, multilaterals, and civil society who lent their expertise in advocating for policies that address harmful gender norms and gender-based discrimination and create conditions that allow everyone to participate in both the labor force and caregiving.
|
|
The positive impact of prohibition of corporal punishment on children’s lives: Messages from research
Children have a right to legal protection from all corporal punishment, in the family home and all other settings of their lives. This human right is recognised under international treaties, including the Convention on the Rights of the Child states are legally obliged to enact laws to prohibit corporal punishment and to work to raise awareness of and implement these laws.
Research shows the positive impact that occurs when governments change laws regarding corporal punishment of children.
|
|
|
|
|
Thai Positive Parenting Community of Practice (TPP CoP) Meeting
previous meeting- TPP CoP 8th webinar
27 February 2024
10.00 am - noon
Watch the webinar record at
https://www.youtube.com/@thaipositiveparentingcommu8792
------------------------------------
Webinar draft schedule for 2024
- 30 April 2024 from 10.00 a.m. - Noon
- 18 June 2024 form 2 p.m.- 4 p.m.
- 28 August 2024 from 2 p.m.- 4 p.m.
- 31 October 2024 from 2 p.m.- 4 p.m.
- 13 December 2024 (possible in-person meeting) from 8 a.m. - 5 p.m
|
|
|
International Updates & Events |
|
|
A World Without Orphans, 3rd Global Forum, Chiang Mai, Thailand
29 February - 3 March 2024
The need for a global movement to see a world without orphans has never been greater!
The last several years have been filled with crises, from disease to conflict to natural disasters. This has caused many of us to grow weary, and we know that children suffer the most. Yet, we know now is the time for the Light in all of us to shine in the darkness, for the darkness has not overcome it. (John 1:5)
For this reason, we are excited to hold
The 3rd Global Forum for a World Without Orphans (WWO), Together From Crisis to Hope
February 29-March 3, 2024, in Chiang Mai, Thailand.
Together we are stronger!
|
|
|
ECD Connect online platform |
|
|
ECD Connect, the online community platform hosted by ECDAN, is a space for early childhood development (ECD) implementers and advocates to interact around emerging themes, learn from each other, gain support and resources, highlight their achievements, and share best practices that improve the lives of young children.
For more information: https://connect.ecdan.org/home |
|
|
The 6th issue of our newsletter will be released in May 2024, please stay tuned!!
If you would like to post your work activities, research, events, webinars, etc. in this CoP
e-newsletter, please send information to the Project Coordinator at the Peace Culture Foundation,
Ms. Chalermkwan Chutima, at thaipositiveparentingcop@gmail.com.
Thank you!
|
|
|
|
|
|
| |
|
|
|
|