จดหมายข่าวฉบับที่ 7 เดือนสิงหาคม - กันยายน 2567
|
|
|
|
เรื่องน่าสนใจประจำฉบับ
- ประเทศไทยได้ยื่นตราสารถอนข้อสงวนของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 22 ว่าด้วยการคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง
- พม. จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำเดือนกันยายน 2567
-
รายงานสถานการณ์ ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ เพื่อเด็กทุกคนในประเทศไทยได้เติบโตอย่างเท่าเทียม
-
คู่มือที่รอคอยมานานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับการดำเนินการแทรกแซงในการเลี้ยงดูเด็กได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการแล้ว
-
อัปเดตการประชุมรัฐมนตรี (Update the Ministerial Conference)
การประชุมระดับรัฐมนตรีทั่วโลกว่าด้วยการยุติความรุนแรงต่อเด็กจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและมีผลกระทบสูง
|
|
|
|
|
For the English newsletter please click Here
or scroll down to the end and click at
'view the entire message'
|
|
|
สารจากกรรมการ
สวัสดีสมาชิกและผู้รับจดหมายข่าวทุกท่าน จดหมายข่าวฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่ 3 ของปี 2567 ขอบคุณทุกท่านที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนปฏิบัติงานแห่งนี้ ในปีนี้ชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ ยังคงมุ่งหวังที่จะเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมมือกันในการขยายงานการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกเพื่อให้เกิดการคุ้มครองเด็ก ความอยู่ดีมีสุข และพัฒนาการที่ดีของเด็กในประเทศไทย กิจกรรมในปี 2567 นี้จะยังคงมุ่งเน้นที่การจัดสัมมนาออนไลน์ (webinar) ทุก ๆ 5 สัปดาห์ การออกจดหมายข่าวราย 3 เดือน และ การอัพโหลดแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ลงใน website เพื่อให้สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมกับเราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการวิจัย ข้อมูลของหลักสูตรการอบรม กลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์และบทเรียนที่ได้รับทั้งในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานของตน ตลอดจนเป็นกระบอกเสียงร่วมกันในการส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก
โปรดมีส่วนร่วมกับชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ ของเราต่อไปและให้มากขึ้นด้วยการสมัครเป็นสมาชิกที่ www.thaipositiveparentingcommunity.org และติดต่อผู้ประสานงานของชุมชนฯ เพื่อแนะนำหรือส่งข้อมูลของท่าน เช่น หลักสูตร คู่มือ งานวิจัย บทความ ด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวก ด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็กเพื่อนำลงเผยแพร่ใน website และในจดหมายข่าว หรือ หากท่านมีงานกิจกรรมที่อยากจะประชาสัมพันธ์ก็สามารถส่งมาให้ได้ นอกจากนี้ หากท่านมีข้อเสนอแนะประการใด ที่จะช่วยให้ชุมชนผู้ปฏิบัติงานฯ สามารถทำงานในลักษณะเครือข่ายพันธมิตรและมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับสมาชิกและสาธารณะให้มากขึ้น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย เราก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะรับข้อเสนอแนะเหล่านั้นไว้พิจารณา โปรดส่งข้อเสนอแนะของท่านมาได้ตลอดเวลา
กรรมการและคณะทำงานของชุมชนฯ ขอให้คำมั่นว่าจะพยายามสรรหากิจกรรมที่สร้างสรรค์ และ แหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์มานำเสนอแก่สมาชิกของชุมชนฯ ทั้งใน webinar ใน website และจดหมายข่าวนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่ารวมถึงเพื่อร่วมกันผลักดันให้แนวคิดและวิธีการดูแลเด็กเชิงบวกขยายออกไปทั่วประเทศไทย
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา
ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
ดร.แอมมาลี แม็คคอย
|
|
|
|
|
|
|
1. มูลนิธิวันสกาย (One Sky Foundation)
เป็นองค์กรสาธารณะกุศลที่ไม่แสวงผลกำไร จดทะเบียน ถูกต้องตามกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2556 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส เด็กยากจน และเด็กกลุ่มเสี่ยงที่ตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก ส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสมาชิก ในครอบครัว ในการดูแลเด็กให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีพื้นที่การทำงานคือ
อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ที่มีเขตแดนติดกับ ประเทศพม่า
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.oneskyfoundation.org/
|
|
|
|
|
|
2. มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก (BanDek Foundation) หรือบ้านเด็ก
เป็นมูลนิธิที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย มีพันธกิจในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสุขภาวะของเด็กและครอบครัวในกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ในชุมชนสลัมเขตเมืองและแคมป์ที่พักแรงงานก่อสร้างในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น มูลนิธิฯ ดำเนินการช่วยเหลือเด็กและครอบครัว ในส่วนของความต้องการฉุกเฉิน (การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การศึกษาและการปกป้องคุ้มครองเด็ก) เสริมศักยภาพให้กับชุมชนผ่านแนวคิดจิตอาสาและอาสาสมัครในชุมชน (การอบรมให้กับเยาวชน ผู้หญิงและผู้ใหญ่ในชุมชน) รวมไปถึงสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างใน ประเทศไทยโดยเน้นการผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย |
|
|
|
|
|
3. เน็ตป๊าม้า (Net PAMA) เป็นหลักสูตรออนไลน์ที่ออกแบบ มาสำหรับผู้ปกครองที่มีลูกวัย 6-12 ปี โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เจ้าของเพจสมาธิสั้นแล้วไง และเป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับทีมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น จากกรมสุขภาพจิต และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนักจิตวิทยาเด็ก โดยเน็ตป๊าม้ามีจุดเริ่มต้นมานานกว่า 20 ปี เริ่มที่โรงพยาบาลศิริราชซึ่งเป็นสถาบันแรกที่นำหลักสูตรวิธีการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก Parent Management Training หรือเรียกย่อๆ ว่า PMT ให้กับพ่อแม่ |
|
|
|
|
|
กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
|
|
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ประเทศไทยได้ยื่นตราสารถอนข้อสงวนของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 22 ว่าด้วยการคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นต่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติ โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบต่อการถอนข้อสงวน ข้อ 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่าด้วยการคุ้มครองเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ เหตุด้วยไทยได้ดำเนินการปกป้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานตามมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครอง และจัดบริการสำหรับเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิงมาอย่างต่อเนื่อง กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จะได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมและติดตามการเข้าถึงสิทธิของเด็กผู้ลี้ภัยและเด็กผู้แสวงหาที่พักพิง และประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้อง คุ้มครอง และเติมเต็มสิทธิเด็กทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ทิ้งเด็กคนใดไว้เบื้องหลัง และที่สำคัญเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็ก
|
|
|
|
|
เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย |
|
|
เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 14.10 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง รับยื่นหนังสือจาก น.ส.วาสนา เก้านพรัตน์ ประธานเครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย และคณะ เรื่อง เสนอความเห็นต่อสภาผู้แทนราษฎร ในการสนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567 (2) เครือข่ายสิทธิเด็กประเทศไทย เด็ก เยาวชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอความเห็นต่อสภาผู้แทนราษฎร ผ่านรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เพื่อสนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(2) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน ทั้งนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมายเพื่อห้ามการลงโทษทางกายทุกรูปแบบต่อเด็กส่งเสริมการการสร้างวินัยเชิงบวก ไม่ใช้ความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบประเทศไทยได้ลงนามในภาคยานุวัติสารเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ในประเด็นเรื่องความรุนแรงต่อเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 19 กำหนดว่ารัฐภาคีจะดำเนินมาตรการที่เหมาะสมทั้งปวง ด้านนิติบัญญัติ บริหาร สังคมและการศึกษาในอันที่จะคุ้มครองเด็กจากรูปแบบทั้งปวงของความรุนแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ
|
|
|
มูลนิธิศานติวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ เชียงใหม่
|
|
|
เมื่อวันที่ 22-26 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “การเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้มีสุขภาพดีตลอดชีวิตสำหรับเด็กเล็ก” (Parenting for Lifelong Health for Young Children) หรือ PLH-YC แก่เจ้าหน้าที่จาก รพสต. สังกัด สสจ.เชียงใหม่ จำนวน 19 ท่านและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน 4 ท่านจากมูลนิธิบ้านเด็ก และมูลนิธิวันสกายเชียงใหม่ เพื่อเรียนรู้ฝึกปฏิบัติให้เป็นวิทยากรฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กวัย 2-9 ปี โดยความร่วมมือระหว่าง สสจ.เชียงใหม่ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ และมูลนิธิศานติวัฒนธรรม โดยมี พญ.หทัยชนก บุญเจริญ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ตัวแทนผู้อำนวยการ สสจ.เชียงใหม่ และดร.แอมมาลี แม็คคอยจากมูลนิธิศานติวัฒนธรรม ร่วมกันกล่าวเปิดงาน แนะนำที่มาของโครงการโดย ดร.สมบัติ ตาปัญญา และนำกระบวนการฝึกอบรมโดย คุณน้ำทิพย์ รัตนนิมิต นักวิชาการสาธารณสุข จากศูนย์สุขภาพจิตที่ 8 และคุณรดาธร วงศ์นภดล พยาบาลวิชาชีพ จาก รพสต.บ้านตาด จ.อุดรธานี ทั้งสองท่านมีประสบการณ์ทั้งในบทบาทของผู้ฝึกอบรมวิทยากร (trainer) ผู้นิเทศงาน (coach) และวิทยากร (facilitator) ในหลักสูตรการอบรมผู้ปกครองเรื่องการเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพดีตลอดชีวิต (PLH) มาตั้งแต่ปี 2561 |
|
|
กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
|
|
|
|
|
จัดทำเอกสารเพื่อแนะนำผู้ปกครองดูแลสุขภาพของลูก ในช่วงหน้าฝน ป้องกันการเกิดโรคจากน้ำท่วมขัง เช่นโรคตาแดง โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง โรคไข้หวัดใหญ่ ฉี่หนู และโรคไข้เลือดออก
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เปิดเผยว่า ช่วงนี้หลายจังหวัดในประเทศไทยประสบกับอุทกภัย คุณพ่อคุณแม่คงมีความกังวลใจเกี่ยวกับความปลอดภัยของลูก การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม และสอนให้เด็กรับรู้ถึงอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันทั้งโรคและภัยที่มากับน้ำได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสนใจเพื่อให้ลูกยังคงมีสุขภาพที่ดีในช่วงเวลานี้ เมื่อเด็กๆไปโรงเรียน อาจเกิดการสัมผัสซึ่งกันและกัน ส่งผลติดต่อ และแพร่กระจายกันได้ง่ายมากขึ้น ความชื้นในฤดูฝนหรือการเกิดน้ำท่วมขัง อาจเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ เช่น โรคตาแดง โรคมือ เท้า ปาก โรคอุจจาระร่วง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก และโรคฉี่หนูได้ ควรหมั่นดูแลสุขอนามัยสม่ำเสมอ
|
|
|
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
|
|
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กรมกิจการเด็กและเยาวชน
โทร 082-0917245, 082-0379767,
083-4313533, 065-7313199 หรือ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
|
|
|
พม. จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำเดือนกันยายน 2567
สำหรับผู้ปกครองที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และเด็กมีสัญชาติไทย พ่อ แม่ ผู้ปกครองสามารถยื่นคำร้องในพื้นที่ที่เด็กแรกเกิดและผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง (ไม่จำเป็นต้องเป็นที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน) ดังนี้ กรุงเทพมหานคร ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต, เมืองพัทยา ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา, ส่วนภูมิภาค ลงทะเบียนได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล
ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “เงินเด็ก” ทั้งนี้ผู้ปกครองต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่าน แอปพลิเคชัน ThaiD ของกรมการปกครองก่อน
**เมื่อตรวจสอบสิทธิผ่านแล้ว จะได้รับเงินมีผล ตั้งแต่เดือนที่ลงทะเบียนรับเงิน**
|
|
|
บริษัท ป๊าม้าพลัส (PAMA Plus)
กำลังทำโครงการดีๆ ชื่อ #PAMAPlusOnTour 25 จังหวัด เพื่อจัดอบรมวิทยากรห้องเรียนพ่อแม่ ระดับที่ 1: เพื่อนพ่อแม่:(Parent Friend) โดยจัดให้ #เฉพาะผู้ที่สนใจเป็นวิทยากร ผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัว เช่น นักจิตวิทยา พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ ครู นักวิชาการสาธารณสุข จิตแพทย์ กุมารแพทย์ ของหน่วยงานรัฐ มูลนิธิ ภาคีเครือข่าย สสส. ที่มีความสนใจและมุ่งมั่นอยากพัฒนาศักยภาพตนเองให้เป็นวิทยากรห้องเรียนพ่อแม่ เพื่อถ่ายทอดเทคนิคการเลี้ยงลูกเชิงบวก
ด้วยหลักสูตร Parent Management Training (PMT) หรือเน็ตป๊าม้า (Net PAMA)
ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวน 60 คนต่อจังหวัด (ผู้จัดขอสงวนสิทธิยกเลิกการจัดในจังหวัดที่มีผู้สมัครมาน้อยกว่า 30 คน).
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 062-525-9000 (คุณณัฐพร)
E-mail: cpat.pamaplus@gmail.com
Line OA: @pamaplus
|
|
|
|
|
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล
จัดกิจกรรมพิเศษเฉพาะผู้ปกครอง วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 - 12.00 น.
จัดกิจกรรม workshop เรื่อง "รู้และเข้าใจอารมณ์ตนเอง เพื่อลดความอลเวงในครอบครัว“ ซึ่งในกิจกรรมนี้จะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจความรู้สึก ความต้องการของตนเองเพื่อไปสู่ความเข้าใจลูกและส่งเสริมการสื่อสารและสัมพันธภาพในครอบครัว ทั้งที่จะได้รับจากคอร์สนี้
- เข้าใจความรู้สึกและความต้องการของตนเองเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจลูก
- เข้าใจวิธีสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
สมัครเรียน คลิก : https://forms.gle/bp5SiLVK5bPJ6ggy9
ติดต่อสอบถาม ศูนย์บูรณาการคลินิกเด็กและวัยรุ่น Line @nicfdclinic โทร 094-461-2407 (ในวันและเวลาราชการ)
|
|
|
|
|
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล
เปิดอบรม หลักสูตร " ผู้ประคอง " โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร เป็นหลักสูตรอบรม 3 ตอนไม่ต่อเนื่องสามารถเข้าร่วมในแต่ละตอนขาดตอนใดตอนหนึ่งได้ (แต่ไม่ควรขาด น่าเรียนรู้เทคนิคทุกตอน)
เป็นหลักสูตรทีเหมาะสมสำหรับกับทุกๆคนในการใช้เทคนิคเชิงบวก ส่งเสริมตัวตน (Sense of Self) และ ทักษะสมอง EF (Executive Functions)
ให้กับเด็กๆที่เรารัก สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ตอนที่ 1 " ผู้ประคองมีอยู่จริง : Self มี, EF ทำงาน " อบรมในวันเสาร์ ที่ 19 ตุลาคม 2567 เวลา 08.45-12.30น. ผ่าน zoom application และสามารถสแกน QR Codeในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์เพื่อลงทะเบียน
|
|
|
|
|
Net Pama
ขอเชิญผู้ปกครองเด็กวัย 6-19 ปี เข้าร่วมโครงการวิจัย “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อเพื่อการเลี้ยงดูบุตรต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองเด็กวัย 6-19 ปี”
ข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสื่อที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองแต่ละกลุ่ม และส่งเสริมให้ผู้ปกครองหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อ นำไปสู่การปรับใช้คำแนะนำที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการและความต้องการของบุตรหลาน
หลังจากที่ท่านกดส่งแบบสอบถาม ท่านจะได้รับ:
1. เฉลยแบบสอบถามความรู้ในการเลี้ยงดูบุตร พร้อมคำอธิบายอย่างละเอียด
2. คู่มือการเลี้ยงดูเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น สำหรับผู้ปกครอง
ท่านสามารถสแกน QR CODE ในโปสเตอร์เพื่อตอบแบบสอบถาม หรือคลิกลิงค์นี้:
https://forms.gle/PcoGEyouHYAqh9LP8
|
|
|
|
|
งานวิจัย 1: รายงานสถานการณ์ ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ เพื่อเด็กทุกคนในประเทศไทยได้เติบโตอย่างเท่าเทียม
รายงานนี้เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันด้านความเหลื่อมล้ำในเด็กและให้ข้อเสนอแนะเพื่อรับประกันว่าเด็กทุกคนในประเทศไทยจะได้รับโอกาสที่เท่าเทียม
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในเด็กในประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อปิดช่องของความไม่เท่าเทียมนี้ จากรายงานของยูนิเชฟ ประเทศไทย
ผู้แต่ง: ยูนิเซฟ ประเทศไทย
วารสาร: รายงานการวิเคราะห์ของยูนิเชฟ ประเทศไทย
ปี: 2024
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://uni.cf/3RSeMtj
|
|
|
|
|
งานวิจัย 2: หัวข้อที่ 3: โครงการหารือการปฏิบัติ : 298 พัฒนาโครงสร้างการกำหนดปัจจัยทางสังคมทั่วโลกเพื่อใช้เป็นฐานสำหรับการป้องกันความรุนแรงต่อเด็ก โดยสนับสนุนการดำเนินงานของ INSPIRE
ผู้วิจัย: Karen Hughes, Sara Wood, Mark A Bellis, Stephanie Burrows and Alexander Butchart
วารสาร: Injury Prevention
ปี: 2024
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://doi.org/10.1136/injuryprev-2024-SAFETY.152 |
|
|
|
|
งานวิจัย 3: คุณค่าทางวัฒนธรรม การเลี้ยงดูเด็ก และการปรับตัวของเด็กในประเทศไทย
ผู้วิจัย:
ดรณี จันทร์หล้า
แสงเดือน ยอดอัญมณีวงศ์
วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ
วารสาร: วารสารจิตวิทยานานาชาติ
ปี: 2024
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/ijop.13111
|
|
|
|
|
วิจัย 5: พฤติกรรมด้านสุขภาพของพ่อแม่และเด็ก: ข้อแนะนำด้านสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพฯ
ผู้วิจัย: ขวัญสุดา เชิดชูงาม
วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ
วารสาร: วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา มหาวิทยาลัยมหิดล
ปี: 2567
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://doi.org/10.55131/jphd/2023/210105 |
|
|
|
|
1. คู่มือจากองค์การอนามัยโลก (WHO) – การสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกและการเล่น
|
|
|
คู่มือจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
การสนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกและการเล่น
คู่มือที่รอคอยมานานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับการดำเนินการแทรกแซงในการเลี้ยงดูเด็กได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการแล้ว
คู่มือนี้ถือเป็นทรัพยากรสำคัญสำหรับผู้ดำเนินโครงการทั่วโลก และเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญครั้งแรกระหว่างโครงการ Parenting for Lifelong Health กับ WHO ที่แสดงถึงความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ระดับโลกเพื่อการเลี้ยงดูเด็กที่มีประสิทธิภาพ
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://iris.who.int/handle/10665/378237
|
|
|
|
|
2. หลักการของ Epstein มาร่วมพูดคุยกับผู้ปกครองยังไงได้บ้าง เพื่อให้วันประชุม
ผู้ปกครอง มี ‘ความหมาย’ มากกว่าเดิม
คู่มือนี้พัฒนามาจาก โครงการ FamSkool คือ โครงการที่เกิดขึ้นจาก บริษัท ไลฟ์ เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ จากสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นตัวช่วยให้เด็ก เยาวชน และครอบครัวได้สัมผัสถึงสัมพันธภาพเชิงบวกที่จับต้องได้ (Visible Relationship) ผ่านองค์ความรู้ทางจิตวิทยาเชิงบวกที่ถูกแปลงออกมาเป็นตัวช่วยในรูปแบบนวัตกรรม เครื่องมือ และองค์ความรู้ที่ใช้งานง่าย ใช้ได้จริงในบริบทที่หลากหลาย โดยมาเริ่มกันที่ Parenting หรือการเลี้ยงดู การเลี้ยงดูคือการที่โรงเรียนเข้าใจว่าครอบครัวของนักเรียนมีอะไรเป็นข้อจำกัด หรือสิ่งที่ต้องการบ้าง เพื่อที่โรงเรียนจะได้ให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำได้ตรงจุดล่ะ โดยคุณครูอาจใช้วันประชุมผู้ปกครองเป็นสื่อกลางในการพูดคุยถึงข้อจำกัดและสิ่งที่ครอบครัวของเด็ก ๆ เป็นกังวล เช่น ให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับพัฒนาการ เมื่อลูก ๆ ของพวกเขากำลังเข้าสู่ช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งผลที่ตามมาจะช่วยให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก ๆ ในช่วงวัยนี้ และมั่นใจว่าจะสามารถร่วมกันกับคุณครูเพื่อดูแลเด็ก ๆ ในขณะเดียวกันคุณครูก็จะได้เข้าใจพื้นเพ เป้าหมาย และความต้องการ ที่แตกต่างกันไปในครอบครัวและเด็กแต่ละคน ในส่วนของ การติดต่อสื่อสาร (Communicating) การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ทั้งโรงเรียนและที่บ้านเห็นการเติบโตของเด็ก ๆ และวางแผนร่วมกันเพื่อดูแลเด็กไปพร้อม ๆ กันได้
โดยคุณครูอาจใช้พื้นที่ในวันประชุมผู้ปกครองพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันว่าในปีการศึกษาที่กำลังจะมาถึง พวกเราอยากใช้ช่องทางไหนเป็นสื่อกลางในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมไปถึงรูปแบบของการอัพเดตข่าวสารทั้งจากฝั่งคุณครูและผู้ปกครองว่าจะ รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เป็นต้น และแน่นอนว่าการสื่อสารที่ดีไม่เพียงแต่จะช่วยให้พวกเราเข้าใจตรงกันมากขึ้นแต่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมไม้ร่วมมือ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการประชุมผู้ปกครองก็จะไม่ใช่แค่การให้ผู้ปกครองมาฟังเพียงอย่างเดียว แต่พื้นที่ตรงนี้จะเอื้อให้ผู้ปกครองและเด็ก ๆ ได้เปล่งเสียงของพวกเขาด้วย
ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://www.famskool.com/tools/5
|
|
|
3. เด็กวัยไหน ใช้มือถืออย่างไร ไม่ให้
“ติดจอ” คู่มือสำหรับพ่อแม่ในการดูแลเด็ก
Common Sense Media และ สสส. ได้ผลิตคู่มือและเคล็ดลับนี้สำหรับ พ่อแม่ ผู้ปกครองในยุคสมัยนี้ ที่มีความกังวลเรื่องที่เด็กๆ ใช้เวลากับหน้าจอมากขึ้น ทั้งโทรศัพท์ แท็บเล็ต แอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย การส่งข้อความ – ทั้งหมดนี้ดึงดูดความสนใจของเด็ก (และผู้ใหญ่) ตั้งแต่อายุยังน้อย แล้วพ่อแม่ ผู้ปกครองควรทำอย่างไร? การกลับไปนอนคงไม่ใช่ทางเลือก แต่การสูดหายใจลึกๆ และส่งเสริมการใช้งานอย่างพอประมาณอย่างมีเหตุผลเป็นสิ่งที่ควรทำ ลองใช้เคล็ดลับในการใช้สื่อโซเชียล ที่แบ่งตามกลุ่มอายุ เหล่านี้เป็นแนวทางสำหรับการเลี้ยงดูเด็ก
คลิกที่ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://happychild.thaihealth.or.th/?p=152437
|
|
|
|
|
4. ชวนทำความรู้จักกับ Childimpact.co
แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ไม่เพียงแต่รวบรวมสื่อการเรียนรู้ แต่ยังจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กอย่างต่อเนื่อง: คลังความรู้กว่า 300+ ชุด ดาวน์โหลดฟรี! ปรับใช้ได้ตามต้องการ, Health Talk ประจำเดือน - เสวนาออนไลน์กับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก และ รับเกียรติบัตรเมื่อเข้าร่วม Health Talk เพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง Child Impact เป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงและระดมความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน กลุ่ม และหน่วยงาน และได้รับการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว - สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
คลิกที่ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://childimpact.co/
|
|
|
|
|
5. ก่อร่างสร้างเด็ก เกิดขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัวของเด็ก 0-3 ปี
ก่อร่างสร้างเด็กเกิดจากความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับครอบครัว พ่อแ่ที่มีลูกช่วงวัย 0-3 ปี โดยเป็นกิจกรรม 2 รูปแบบคือห้องเรียนออนไลน์ และบทเรียนออนไลน์ สำหรับพ่อแม่ โดยทุกคนสามารถส่งต่อความรู้และแชร์ประสบการณ์ ในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ (ระบบ Line OA) เมื่อสมัครเข้ามาเป็นสมาชิก ห้องเรียนนี้มีคอร์สต่างๆ ให้พ่อแม่ผู้ปกครองเลือกเรียนตามความสนใจ ในรูปแบบห้องเรียนออนไลน์ โดยแจ้งเตือนช่องทาง Line OA เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง มีวิทยากรจากที่ต่างๆ มาร่วมให้ความรู้ จนเกิดอีกหนึ่งผลลัพธ์คือการเกิดคอมมูนิตี้ระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งที่อยู่ในไทยและต่างประเทศอีกด้วย โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สสส.
คลิกที่ลิงค์เพื่อศึกษาเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/Thaibabynurturing
|
|
|
|
|
งานสัมมนาของชุมชนผู้ปฏิบัติงาน
ด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในประเทศไทย (TPP CoP) ที่ผ่านมา
|
|
|
|
|
Webinar ครั้งที่ 10 หัวข้อ "การปรึกษาเพื่อพัฒนานโยบายการเลี้ยงดูเด็กในประเทศไทย"
วันที่ 10 กันยายน 2567
เวลา 14.00 น.- 16.00 น.
วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนนโยบายด้านการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกในปัจจุบันโดยเน้นงานที่มีการวิจัยเป็นฐานรองรับ และระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงและส่งเสริมนโยบาย
โดยแบ่ง 2 กลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนในหัวด้านนโยบาย และกิจกรรมรณรงค์ของหัวข้อหลัก วิทยากรรับเชิญ อาจารย์ดรณี จันทร์หล้า
ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดูบันทึกการสัมมนาย้อนหลังที่นี้
https://youtu.be/VVFvp-iopUQ?si=4BbMVY-dtLUUY7pk
|
|
|
|
|
Webinar ครั้งที่ 11 หัวข้อ "การมีส่วนร่วมรับผิดชอบของผู้ชายในการเลี้ยงดูเด็ก"(Male Engagement)
วันที่ 24 กันยายน 2067
เวลา 14.00 น.- 16.00 น.
โดย วิทยากรรับเชิญ นำเสนองานดังกล่าว คือ 1. ดร.แอมมาลี แม็คคอย หัวหน้าโครงการการเลี้ยงดูเด็กเพื่อให้มีสุขภาพดีตลอดชีวิต (PLH) มูลนิธิศานติวัฒนธรรม
2. ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม, สาขาวิชาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
ดูบันทึกการสัมมนาย้อนหลังได้ที่นี้ https://youtu.be/P-Iu5jzWuLM
|
|
|
|
|
กำหนดการงานสัมมนาออนไลน์ (webinar) ของ TPP CoP ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
Webinar ครั้งที่ 12 เดือน ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น.- 16.00 น.
หัวข้อ "การเลี้ยงดูลูกเพศหลากหลาย" (Parenting gender diverse children)
ได้โปรดติดตามรายละเอียดทางเพจของ TPP CoP |
|
งาน กิจกรรม และความเคลื่อนไหวนานาชาติ |
|
1. Global Parenting Initiatives (GPI) เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการที่ ISPCAN 2024: โดยนำการประชุมเชิงปฎิบัติการ และการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กระดับโลก
GPI ได้เข้าร่วมการประชุม ISPCAN 2024 โดยมีทีมงานขนาดใหญ่และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ หลังจากนั้น ทีมงาน GPI ได้รวมตัวกันเพื่อแบ่งปันความรู้และเตรียมตัวสำหรับการประชุมสามวันที่เข้มข้น GPI ร่วมกับ Parenting for Lifelong Health, Spring Impact และมหาวิทยาลัยหลายแห่ง นำเสนอผลงานเกี่ยวกับการลดความรุนแรงต่อเด็กผ่านโครงการการเลี้ยงดูเด็กในสถานการณ์วิกฤติ การประชุมฯ นี้จัดโดย Pragathi Tummala ซีอีโอของ ISPCAN และมี Genevieve Haupt-Ronnie จาก GPI และ Saara Thakur เป็นผู้ร่วมดำเนินการ การประชุมฯ ได้สำรวจการขยายขอบเขตของการแทรกแซงการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ความสำคัญของการทำงานร่วมกันในชุมชน และความจำเป็นของโปรแกรมที่สามารถปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมและวิกฤตได้ ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการนำแผนเหล่านี้ไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย เช่น ยูเครน ปากีสถาน และครอบครัวผู้พลัดถิ่นในสวีเดน
|
|
|
2. อัปเดตการประชุมรัฐมนตรี (Update the Ministerial Conference)
ในอีก 40 วัน การประชุมระดับรัฐมนตรีทั่วโลกว่าด้วยการยุติความรุนแรงต่อเด็กจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญและมีผลกระทบสูง สำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะ เราขอเชิญชวนให้ตรวจสอบการบันทึกการประชุมและรายชื่อประเทศสมาชิกที่ยืนยันการเข้าร่วม โดยในขณะนี้มีรัฐมนตรี 80 คน (ซึ่งบางประเทศมีรัฐมนตรีหลายคน) ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมนี้ และมีประเทศสมาชิก 120 ประเทศที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี พร้อมกับผู้นำจากภาคประชาสังคม องค์กรการกุศล และนักวิชาการ รวมถึงเด็ก เยาวชน และผู้รอดชีวิตจากความรุนแรง ขอให้เราคำนึงถึงรัฐบาลที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนและสนับสนุนให้เข้าร่วมการประชุมนี้ด้วย (รัฐบาลไทยยังคงไม่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน)
เรายังต้องการให้ความสนใจกับสองประเด็นที่สำคัญ:
-
การให้คำมั่น: รัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดได้รับการสนับสนุนและคาดหวังให้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีทั่วโลกด้วยการให้คำมั่นที่ชัดเจนและสามารถประเมินได้ ซึ่งจะถูกนำเสนอในรูปแบบของคำมั่นสัญญา โดยมีการระบุพื้นที่ที่ควรให้ความสำคัญเพื่อเพิ่มความก้าวหน้าในการยุติความรุนแรงทุกรูปแบบต่อเด็กภายในปี 2030 รัฐต่าง ๆ ถูกเชิญให้ตรวจสอบเอกสารแนะแนวและส่งคำมั่นที่แพลตฟอร์มออนไลน์ โดยให้ความสำคัญกับหนึ่งหรือหลายพื้นที่ที่กำหนด ภายในวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม คำมั่นจะถูกนำเสนอในโปรแกรมการประชุมระดับรัฐมนตรีทั้งหมด
-
โปรแกรม: รายละเอียดโปรแกรม ของการประชุมระดับรัฐมนตรีมีให้บริการแล้ว ผู้เข้าร่วมได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางยุทธศาสตร์ ที่จัดขึ้นโดยพันธมิตรหลักในสามวัน ที่ดำเนินการประชุมการประชุมระดับรัฐมนตรี สำหรับผู้ที่เข้าร่วมในสถานที่ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้จองการเดินทางตามที่กำหนด
สามารถศึกษาเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ ;
https://endviolenceagainstchildrenconference.org.
|
|
|
3. การเสริมสร้างครอบครัวฟิลิปปินส์: องค์กร Masayang Pamilya (MaPa Org Inc.) ส่งเสริมการเลี้ยงดูเชิงบวกและความปลอดภัยของเด็ก
ดร. Liane Peña Alampay หัวหน้าโครงการ Parenting for Lifelong Health (PLH) ได้พัฒนาองค์กร MaPa Org Inc. ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ องค์กรนี้มุ่งส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็ก ผ่านการเล่นกับเด็ก เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ป้องกันความรุนแรงต่อเด็ก และช่วยให้ผู้ปกครองสามารถจัดการพฤติกรรมเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการนี้กำลังเปลี่ยนแปลงชีวิตของครอบครัวชาวฟิลิปปินส์ โดยการส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กเชิงบวกและการเลี้ยงเด็ก ด้วยการเล่น องค์กร MaPa Org Inc. เน้นส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็ก ผ่านการเล่นกับเด็ก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งในครอบครัว ป้องกันความรุนแรงต่อเด็ก และช่วยให้พ่อแม่จัดการพฤติกรรมเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ Jennel Reyes ผู้อำนวยการ MaPa และ ดร. Bernice Mamauag ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ได้จัดการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาสำหรับโครงการ ParentChat โดยร่วมมือกับมูลนิธิศานติวัฒนธรรมในอุดรธานีของปีนี้
สามารถศึกษาเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ ;
The Masayang Pamilya Organization, Inc. (MaPa Org Inc.) |
|
|
จดหมายข่าวฉบับนี้เป็นจดหมายข่าว ฉบับที่ 3 ปี 2567 เผยแพร่ช่วง เดือนตุลาคม
และทั้งนี้จดหมายข่าวฉบับต่อไป จะเผยแพร่ต่อไปในเดือนธันวาคม 2567
หากท่านต้องการลงข้อมูลงานวิจัย กิจกรรมขององค์กร งานประชุมสัมมนา ฯลฯ ในจดหมายข่าวนี้
โปรดส่งข้อมูลมายังผู้ประสานงานโครงการ ฯ คุณชุตินันท์ สอนสมฤทธิ์
ที่อีเมล thaipositiveparentingcop@gmail.com
ขอขอบพระคุณทุกท่านสำหรบัการติดตามงานความเคลื่อนไหวกับคณะทำงานฯ
มูลนิธิศานติวัฒนธรรม |
|
|
- Thailand formally withdrew its reservation to Article 22 of the Convention on the Rights of the Child concerning the protection of refugee children and children seeking asylum.
-
The Ministry has disbursed financial assistance for newborn care during September 2024.
-
Addressing the Gaps: Ensuring every child in Thailand has an equal chance to thrive
This report analyzes the current situation regarding child inequality.
- The long-awaited World Health Organization (WHO) handbook on parenting intervention implementation has been officially published.
- Update on the Global Ministerial Conference on Ending Violence against Children promises to be a high-impact, ambitious, vibrant, and historic moment for and with children.
|
|
|
|
|
Message from the Co-Chairs
|
|
|
Greetings to all members and recipients of this newsletter. This newsletter is the third issue for the year 2024.
I would like to thank all of you who are still part of this community. This year, the community continues to aspire to be the center for supporting and promoting knowledge exchange, in addition to collaborating on expanding positive parenting work to ensure child protection, well-being, and optimal development of children in Thailand. In the year 2024, activities will continue to focus on organizing webinars every 5-6 weeks, issuing quarterly newsletters, and uploading various resources to the COP website so that members and participants can exchange and learn from research findings, training curriculum information, operational strategies, experiences, and lessons learned at both the national and international level. This is intended for members and participants to further apply these learnings in their own work, and to serve as a common voice in promoting positive parenting.
Please continue to engage with our community of practice and contribute more to our ongoing efforts by signing up for membership at www.thaipositiveparentingcommunity.org . You can contact our CoP Coordinator to recommend or submit your materials such as courses, manuals, research, or articles on positive parenting, positive discipline, and child development to be published on the website and in the newsletter. Additionally,
if you have an event that you would like to have publicized, you can share it with us. Furthermore, if you have any suggestions that could further help the community to work
as a network of partners and to advance positive parenting in Thailand, we would be happy to receive your suggestions. Please feel free to send us your feedback at any time.
The Co-Chairs and the support team of the CoP would like to pledge to find more creative activities and useful resources to present to the members through the webinars, the website, and in this newsletter, to provide valuable resources and to collectively advance positive parenting throughout Thailand.
Best wishes
Asst. Prof. Dr. Sombat Tapnya
Asst. Prof. Dr. Panadda Thanasetkorn
Dr. Amalee McCoy
|
|
|
|
|
|
|
In each issue, we would like to introduce a few organizations working in the area of positive parenting in Thailand, which would provide networking and knowledge exchange opportunities. In this issue, we would like to introduce: |
|
|
1. The One Sky Foundation is a non-profit public charitable organization that was legally registered in 2013. Its mission is to assist underprivileged children, impoverished children, and at-risk children. The foundation promotes the potential and role of parenting following the Convention on the Rights of the Child and the Child Protection Act of 2003.
The Foundation operates in Sangkhla Buri District, Kanchanaburi Province on the border of Thailand and Myanmar.
For more information;
https://www.oneskyfoundation.org/
|
|
|
|
|
|
2. The BanDek Foundation, or 'Ban Dek' is a legally registered foundation in Thailand with a mission to improve the quality of life and promote the well-being of vulnerable children and families living in urban slums and construction camps in Thailand. The foundation addresses the needs of children and families in emergencies (access to healthcare, education, and child protection services), empowers communities through volunteerism and community engagement (training for youth, women, and adults in the community), and aims to bring systematic changes and policy advocacy work with the construction industry in Thailand. |
|
|
|
|
|
3. Net PAMA
is an online course designed for parents of children aged 6-12 years, supported by the Thai Health Promotion Foundation. The course is led by Associate Professor Dr. Chanwit Pornnoppadol, a child and adolescent psychiatrist from the Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, who also manages the Facebook page 'So What If I'm ADHD?' and is the project leader. He collaborates with a team of child and adolescent psychiatrists from the Department of Mental Health, the Office of the Permanent Secretary of the Ministry of Public Health, and child psychologists. Net PAMA was initiated over 20 years ago at Siriraj Hospital, the first institution to bring Parent Management Training (PMT) to Thailand, a positive child behavior change curriculum for parents. |
|
|
|
|
|
The Department of Children and Youth, Ministry of Social Development
and Human Security |
|
|
On August 30, 2024, Thailand formally withdrew its reservation to Article 22 of the Convention on the Rights of the Child concerning the protection of refugee children and children seeking asylum. This demonstrates Thailand's commitment to protecting the rights of all children equally and without discrimination. On July 9, 2024, the Cabinet approved the withdrawal of the reservation to CRC Article 22, as proposed by the Ministry of Social Development and Human Security.
This decision was made because the Government of Thailand has taken the position that it consistently implements appropriate measures to protect the fundamental rights of refugee children and children seeking asylum and has provided services for them.
The Ministry of Social Development and Human Security (MSDHS), as the agency responsible for implementing the Convention on the Rights of the Child, will establish
a working group to promote and monitor access to rights for refugee children and children seeking asylum.
They will coordinate with all relevant sectors to protect, safeguard, and fulfill the rights of all children without discrimination, ensuring that no child is left behind.
Most importantly, this is done in the best interests of the child.
|
|
|
|
|
|
Convention on the Rights of the Child (CRC) Coalition Thailand
|
|
|
On July 23, 2024, at 2:10 PM, at the document submission point on the 1st floor (central zone) of the Parliament Building, Mr. Padipat Santipada, the First Deputy Speaker of the House of Representatives, received a letter from Ms. Wasana Kaonaprat, President of the CRC Coalition Thailand, and her team. The letter expressed opinions to the House of Representatives regarding support for the amendment of Section 1567(2) of the Civil and Commercial Code. The CRC Coalition Thailand, along with children, youth, and relevant agencies, submitted their views through the First Deputy Speaker to encourage the House of Representatives to consider amending Section 1567(2) of the Civil and Commercial Code, which allows those in parental authority to discipline children as deemed appropriate for instruction.
Thailand needs to reform its laws to prohibit all forms of physical punishment against children and to promote positive discipline without resorting to violence in any form. Thailand signed the ratification of the Convention on the Rights of the Child on February 12, 1992, which came into effect on April 26, 1992. Regarding violence against children, Article 19 of the Convention on the Rights of the Child stipulates that state parties shall take all appropriate legislative, administrative, social, and educational measures to protect children from all forms of physical and mental violence.
|
|
|
Peace Culture Foundation, together with the Chiang Mai Public Health Office and the Rajanagarindra Institute for Child Development |
|
|
During July 23–26, 2024, the Peace Culture Foundation organized a Parenting for Lifelong Health for Young Children (PLH-YC) Facilitator Training workshop for 19 health workers from Chiang Mai province and 4 NGO staff from Ban Dek and OneSky to learn how to facilitate PLH-YC groups for parents of children aged 2-9 years. This workshop was a collaboration between the Peace Culture Foundation, the Chiang Mai Provincial Public Health Office, and the Rajanagarindra Institute of Child Development. Dr. Hathaichanok Booncharoen, the Director of the Rajanagarindra Institute of Child Development, a representative of the Director of the Provincial Public Health Office, and Dr Amalee McCoy from PCF delivered opening remarks. The training was led by two co-trainers,
Ms. Namthip Rattananimit, a Public Health Officer from the Regional Office of Mental Health Center 8, and Ms. Radathon Wongnaphadol, a professional nurse from
Ban That Hospital, Udon Thani Province. Both trainers have experience as PLH-YC trainers, coaches, and facilitators and were part of the first facilitator group cohort in November 2018. Workshop organization and support were provided by
Dr. Sombat Tapanya, Dr. Amalee McCoy, Saisuree Sengprasan, Chutinan Sornsomrit, and Noppamat Sirichumpong.
|
|
|
The Department of Medicine, through the Queen Sirikit National Institute of Child Health |
|
|
Guidance for parents on how to care for their children's health during the rainy season to prevent diseases caused by stagnant water, such as conjunctivitis, hand-foot-and-mouth disease, diarrhea, influenza, leptospirosis, and dengue fever. Dr. Amphon Benjapolpitak, the Director-General of the Department of Medicine, stated that many provinces in Thailand are currently experiencing flooding, which may cause concern for parents regarding their children's safety. Preparing to cope with flooding situations and teaching children about potential dangers is the best way to prevent both diseases and hazards associated with water.
Parents should pay attention to ensure their children maintain good health during this time. When children go to school, they may come into contact with one another, which can easily lead to the spread of diseases. The humidity during the rainy season or the occurrence of stagnant water can be a breeding ground for various diseases; therefore, regular attention to hygiene is essential.
|
|
|
|
|
Ministry of Social Development and Human Security |
|
|
The Ministry has disbursed financial assistance for newborn care during September 2024.
For parents who have not registered to receive financial support for newborn care for children with Thai nationality, parents or caregivers can submit their applications in the area where the newborn and caregivers reside (it doesn’t need to be the registered address) as follows:
-
Bangkok: Register at the district office.
-
Pattaya City: Register at the Pattaya City Hall.
-
Regional Areas: Register at the Sub-district Administrative Organization (SAO) or municipality.
Registration can also be done through the “Child Fund” application. Parents must verify and confirm their identity through the ThaiD application from the Department of Provincial Administration first.
|
|
|
Once eligibility is verified, financial assistance will be effective from the month of registration. For more information, please contact the Operational Center for Financial Assistance for Newborn Care, Department of Children and Youth, at 08 2091 7245, 08 2037 9767, 08 3431 3533, or 06 5731 3199, or the Social Assistance Center hotline at 1300, available 24 hours a day.
|
|
|
Upcoming Activities & Events |
|
|
 |
1. PAMA Plus Company
Launching a great project called #PAMAPlusOnTour 25 Provinces to conduct training for parent classroom trainers at Level 1: Parent Friend.
This training is specifically for those interested in becoming trainers, including professionals working in child and family development, such as psychologists, nurses, social workers, teachers, public health scholars, psychiatrists, and pediatricians from government agencies, foundations, and partners of the Thai Health Promotion Foundation who are interested in enhancing their skills to become parent classroom trainers to share positive parenting techniques using the NetPama Parent Management Training (PMT) program.
There is no cost for the training, and it will accommodate 60 participants per province (the organizers reserve the right to cancel the training in provinces where fewer than 30 participants register). For more details, please contact 062-525-9000 (Ms. Natthaporn), E-mail: cpat.pamaplus@gmail.com,
Line OA: @pamaplus.
|
|
|
|
|
2. National Institute for Child and Family Development, Mahidol University
Special activity for parents on Saturday, October 12, 2024, 9:00 AM to 12:00 PM. The National Institute for Child and Family Development will host a workshop titled "Understanding and Recognizing One's Emotions to Reduce Family Turmoil."
This activity will help parents understand their feelings and needs, leading to a better understanding of their children and promoting communication and relationships within the family.
Participants will gain:
To register, click: https://forms.gle/bp5SiLVK5bPJ6ggy9
For inquiries, please contact the Integrated Child and Adolescent Clinic Center
Line: @nicfdclinic,
Phone: 094-461-2407
(during official hours).
|
|
|
|
|
3.National Institute for Child and Family Development, Mahidol University
The training for “PhuPrakrong” or caregivers led by Associate Professor Dr. Panadda Thanasehtakorn consists of three non-consecutive sessions, and participants can join any session, although it is recommended to attend all sessions to fully learn the techniques.
This course is suitable for everyone to use positive techniques that promote Sense of Self and Executive Functions (EF) skills for the children we love.
Registration is open starting today.
Session 1: "Caregivers are Real: Self Exists, EF Works"
Training will take place on Saturday, October 19, 2024, from 8:45 AM to 12:30 PM via Zoom application.
You can scan the QR code on the promotional poster to register.
|
|
|
|
|
4. Net Pama
Invites parents of children aged 6-19 years to participate in the research project titled “Study on the Relationship Between Media Use in Parenting and the Knowledge, Attitudes, and Behaviors of Parents with Children Aged 6-19 Years.”
The information gathered from this questionnaire will be beneficial in developing media that aligns with the needs of different groups of parents and encourages parents to seek knowledge from credible sources, leading to the application of appropriate guidance that matches the development and needs of their children.
After you submit the questionnaire, you will receive:
-
Answers to the parenting knowledge questionnaire with detailed explanations.
-
A guide for parenting school-aged children and adolescents.
You can scan the QR CODE on the poster to answer the questionnaire or click this link:
https://forms.gle/PcoGEyouHYAqh9LP8.
|
|
|
|
|
Interesting Article & Research Highlights |
|
|
Research 1
Addressing the Gaps: Ensuring every child in Thailand has an equal chance to thrive
This report analyzes the current situation regarding child inequality and provides recommendations to ensure that every child in Thailand receives equal opportunities.
Author: UNICEF Thailand
Year: 2024
Click here for further study: https://uni.cf/3RSeMtj
|
|
|
|
|
Research 2
Stream 3: Programme or Practice: 298 Developing a global social determinants framework for evidence-based prevention of violence against children to support the implementation of INSPIRE
Researchers: Karen Hughes, Sara Wood, Mark A Bellis, Stephanie Burrows, and Alexander Butchart
Journal: Injury Prevention
Year: 2024
Click here for further study: https://doi.org/10.1136/injuryprev-2024-SAFETY.152
|
|
|
|
|
Research 5
Parental and Children’s Health Behavior Stemming from the Thai National Health Recommendations in Bangkok
Researcher: Kwansuda Cherdchoo Ngarm
Method: Mixed methods
Journal: Journal of Public Health and Development, Mahidol University
Year: 2024
Click here for future study: https://doi.org/10.55131/jphd/2023/210105 |
|
|
|
|
1. WHO handbook- Advocating for playful positive parenting
The long-awaited World Health Organization (WHO) handbook on parenting intervention implementation has been officially published. The handbook, developed under the leadership of Professor Frances Gardner at the University of Oxford and Dr Alex Butchart at WHO, is set to become an invaluable resource for implementers worldwide.
This publication marks Parenting for Lifelong Health's first major collaboration with WHO, showcasing the organization's pioneering efforts in shaping global policy and impact. The handbook also serves
as an excellent companion to the WHO guidelines, which were also led by Professor Gardner.
Full report please download:https://iris.who.int/handle/10665/378237
|
|
|
|
|
2. How to Engage Parents Based on Epstein's Principles to Make Parent-Teacher Meetings More Meaningful
This guide has been developed from the FamSkool project, which originated from Life Education (Thailand) Co., Ltd., with funding support for the development of innovations and knowledge from the Bureau of Support for Child, Youth, and Family Well-Being,
Office of the Health Promotion Fund. The purpose of this guide is to help children, youth, and families experience visible positive relationships through practical psychological knowledge transformed into user-friendly innovations, tools, and knowledge applicable
in diverse contexts.
Starting with parenting, schools need to understand the limitations or needs of students’ families to provide appropriate support and guidance. Teachers can utilize parent-teacher meetings as a platform to discuss family concerns, such as providing preliminary advice on development as children enter transitional phases. This engagement helps parents better understand their children's development during this critical time and builds confidence in collaborating with teachers to care for the children. Simultaneously, teachers gain insights into the unique backgrounds, goals, and needs of each family and child.
In terms of communication, effective communication enables both the school and home
to observe children's growth and collaboratively plan for their care.
Teachers may use the meeting space to discuss preferred communication channels for sharing information in the upcoming academic year, including how updates will be shared from both teachers and parents, whether weekly or monthly. This could start with simple preliminary discussions.
Good communication not only fosters mutual understanding but also encourages collaboration. As a result, parent-teacher meetings will transform from mere lectures for parents into a space where both parents and children can voice their thoughts and concerns.
|
|
|
3. How Children of Different Ages Should Use Mobile Devices Without Being “Screen-Dependent”: A Guide for Parents on Caring for Children
Common Sense Media and the Health Promotion Foundation have created this guide and tips for parents and guardians in today's era who are concerned about children spending more time in front of a screen
whether on phones, tablets, applications, social media, or messaging all of which capture the attention of children (and adults) from a young age.
So, what should parents and guardians do? Going back to sleep isn’t an option,
but taking deep breaths and promoting reasonable, moderate usage is essential. Here are some tips for using social media, categorized by age groups, as guidelines for raising children.
For more information click here: https://happychild.thaihealth.or.th/?p=152437
|
|
|
|
|
4. Get to Know Childimpact.com
Childimpact.com is an online platform that not only gathers learning resources but also organizes activities to continuously promote children's health.
It offers over 300 free downloadable knowledge sets that can be adapted as needed. The platform hosts a monthly Health Talk an online discussion with child health experts and participants receive a certificate upon joining to enhance their knowledge continuously.
Child Impact is a digital platform that connects and mobilizes collaboration from various sectors, groups, and agencies, supported by the Bureau of Child, Youth, and Family Health Promotion, the Health Promotion Foundation.
For more information click here: https://childimpact.co/
|
|
|
|
|
5. Kor Rang Sang Dek or Building a Foundation for Children
This online classroom aims to create a safe space for families with children aged 0-3 years. This initiative is driven by the intention to establish a safe environment for parents with young children through two main activity formats: online classrooms and online lessons for parents. Everyone can share knowledge and experiences in the online classroom (via Line OA) upon becoming a member.
This classroom offers various courses for parents to choose from based on their interests, with notifications sent through Line OA for convenience.
Experts from various fields are invited to share their knowledge, resulting in the creation of a community among parents, both within Thailand and abroad.
This initiative is supported by the Bureau of Child, Youth, and Family Health Promotion (Office 4) of the Health Promotion Foundation.
For more information click here: https: //www.facebook.com/Thaibabynurturing
|
|
|
|
|
The 10th COP Webinar was organized on September 10, 2024
from 2:00 PM - 4:00 PM
Topic: "Consultation for Developing Parenting Policies in Thailand"
Objective: To review the current positive parenting policies, emphasizing research-based work, and to gather opinions and exchange ideas for the improvement and promotion of these policies. Participants will be divided into two sub-groups to discuss policy-related topics and campaign activities under the main topic.
Guest Speaker: Dr. Daranee Junla, Department of Psychology, Faculty of Humanities, Chiang Mai University.
Please find the recorded video here; …https://youtu.be/VVFvp-iopUQ?si=4BbMVY-dtLUUY7pk |
|
|
|
|
The 11th COP Webinar was organized on September 24, 2024, from 2:00 to 3:30 PM.
Topic: "Male Engagement in Positive Parenting"
The guest speakers were
Dr. Amalee McCoy, Head of the Scaling Up Parenting for Lifelong Health Project (PLH) at the Peace Culture Foundation
2. Asst.Prof. Dr. Kesri Lathleak, Deputy Rector for Research and Innovation, Early Childhood Education Program, Yala Rajabhat University.
|
|
|
|
|
The next COP webinar will be held in October 2024.
Topic "Parenting gender diverse children"
|
|
|
International Updates & Events |
|
|
1. Global Parenting Initiative at ISPCAN 2024: Leading workshops and sharing insights on global child protection
The GPI was represented by a large group of colleagues at this year’s International Society for the Prevention of Child Abuse and Neglect (ISPCAN) congress. After presenting a successful pre-conference workshop, GPI colleagues gathered to share knowledge, and insights and prepare for the three jam-packed conference days.
The GPI, alongside Parenting for Lifelong Health, Spring Impact, and several universities, participated in a workshop at the 2024 ISPCAN conference on reducing violence against children through parenting programmes during crises.
Hosted by ISPCAN CEO Pragathi Tummala and co-chaired by GPI’s Genevieve Haupt-Ronnie and Saara Thakur, the workshop explored sustainable scaling of interventions, the importance of community collaboration, and the need for culturally sensitive and adaptable programs in crisis settings.
Experts shared insights on implementing these interventions in challenging environments like Ukraine, Pakistan, and among displaced families in Sweden.
|
|
|
2. Update on the Global Ministerial Conference on Ending Violence against Children
In less than 40 days, the Global Ministerial Conference on Ending Violence Against Children promises to be a high-impact, ambitious, vibrant, and historic moment for—and with—children.
Please see the recording here and the list of confirmed member states. At the time of writing, 80 Ministers (often several Ministers per country) and 120 member states are registered to attend the Ministerial Conference alongside leaders from civil society, philanthropy, and academia, as well as children, young people, and public survivors. (Note: The Government of Thailand has not yet registered to attend).
There are two priority aspects:
-
Pledging: All States and key stakeholders are encouraged and expected to attend the Global Ministerial Conference with a concrete and quantifiable commitment to action, presented in the form of a pledge. Priority pledge areas have been identified to maximize collective progress towards Ending All Forms of Violence Against Children by 2030. States are invited to review the guidance document (also available in French) and submit a pledge at the online pledging platform – focusing, as a minimum, on one or more priority areas – by Friday 25 October. Pledges will be featured throughout the plenary programme of the Ministerial Conference.
Programme: The full programme of the Ministerial Conference is now available.
Attendees are also encouraged to engage with the range of strategic satellite events, organized by key partners, in the three days preceding the Ministerial Conference.
For those attending in person, please make sure to book your travels accordingly.
For more information please visit;
https://endviolenceagainstchildrenconference.org.
|
|
|
3. Strengthening Filipino families: The Masayang Pamilya organization (MaPa Org Inc.) promotes playful parenting and child safety
In partnership with researchers from the University of Oxford and the University of Cape Town, Dr. Liane Peña Alampay, Principal Investigator of Parenting for Lifelong Health (PLH) has led the development of Masayang Pamilya Organization, Inc. (MaPa Org Inc.).
This initiative is transforming the lives of Filipino families by promoting playful and positive parenting practices. MaPa Org Inc. focuses on encouraging playful parenting to build stronger family bonds, preventing violence against children, supporting parents in effectively managing child behavior, and ensuring a safe environment where children can thrive. Jennel Reyes, MaPa Executive Director, and Dr. Bernice Mamauag, MaPa
Research Director, have both conducted the training and coaching for the Parenting for Lifelong Health ParentChat programme in collaboration with the Peace Culture Foundation in Udon Thani this year.
For more information please visit;
https://www.youtube.com/watch?v=t_0VAVVztfk&t=129s
|
|
|
This newsletter is the third issue for the year 2024 and will be published in October 2024.
If you would like to post your work-related parenting program including the research, activities conferences, seminars, webinars, etc with this CoP newsletter.
Please send the information to the TPP - CoP Project Coordinator,
Chutinan Sonsomrit, Peace Culture Foundation
at email: thaipositiveparentingcop@gmail.com
Thank you!
|
|
|
|
|
|  |
|
|
|
|